000
ปรึกษาเครื่องเสียง อจ. ไมตรี โทร 099-569-6459    
 
บอร์ดพูดคุย, ซื้อ-ขายเครื่องเสียง
>> audio-teams.com
>> noom-hifi.com
>> wijitboonchoo.com
>> hifi55.com  
>> sk-audiophile.com
>> htg2.net
นิตยสารเครื่องเสียง
>> what Hi-Fi? Thailand
>> The Wave
>> Audiophile-Videophile
>> gm2000.com
>> The Stereo
ร้านค้าเครื่องเสียง
>> Piyanas Electric
>> KS Sons Group
>> Conice (บ้านทวาทศิน)
>> อัศวโสภณ
>> munkonggadget.com
>> bkkaudio.com
 
ปรับขนาดตัวหนังสือ เช่น 15, 16, 18, 20, + + / ยกเลิกใส่ 0 :

หมวดหมู่ > รายงานบททดสอบ > เครื่องเสียงบ้าน > เทคนิคการใช้งานกล่องดูดคลื่นวิทยุ PERFECT POWER RT-1 -ตอน3
วันที่ : 21/06/2017
8,180 views

เทคนิคการใช้งานกล่องดูดคลื่นวิทยุ PERFECT POWER RT-1 (ตอน 3)

โดย...อ. ไมตรี ทรัพย์เอนกสันติ

กล่องดูดคลื่น RT-1 ใช้ดูดคลื่น RF ขยะในอากาศรอบๆ ตัวเรา รายละเอียดที่มาและการทดสอบ กรุณาหาอ่านได้ที่เว็บ maitreeav.com ส่วนรายงานการทดสอบ RT-1 ตอน 1 และ RT-1 ตอน 2

                เนื่องจาก RT-1 เป็นแค่กล่องไม้ ขนาดคืบกว่า x คืบกว่า หนาประมาณ 2 นิ้วเศษ ไม่มีปุ่มกด, รูเสียบ, สายไฟ ใดๆ ทั้งสิ้น

                ผลการใช้งาน เท่าที่ผมใช้ที่ห้องเสียงทดสอบ มันปรับปรุงคุณภาพเสียง “ทุกแง่มุม” เฉลี่ยได้ถึง 100% ดีขึ้น! กับชุดเครื่องเสียงของโชว์รูมเครื่องเสียง ดีขึ้น 40-60% สาเหตุที่น้อยกว่า 100% เป็นเพราะการติดตั้งชุดนั้นๆ เอง ซึ่งผมจะรวบรวมการใช้งาน RT-1 ให้ได้ผลที่สุดมาให้ทราบ จากการลองอยู่กับ RT-1 ในหลายๆ ลักษณะ 2 เดือน ลองเกือบทุกคืน สรุปผลได้ดังนี้

                ควรจัด, จูน ชุดเครื่องเสียงที่ใช้ให้ถูกต้อง มีความผิดพลาดน้อยที่สุดก่อน เช่น
                                1. อย่าให้สายต่างๆ แตะต้องกัน อย่าพันทบตัวเอง
                                2. สายเสียงอนาลอก L, R พยายามแยก อย่าให้แตะต้องกัน
                                3. ฟังทดสอบทิศทางสายลำโพง, สายดิจิตอล, สายภาพ (HDMI, หัวเหลืองปกติ, สาย              component,       สาย S-VHS) สายเสียง RCA, บาลานซ์ (อาจต้องสลับหัวเสียบ) ว่าต้องอ่านยี่ห้อสายไล่จากเครื่องเล่นไป      แอมป์, จากแอมป์ไปลำโพง, จาก CD ไป DAC, ฯลฯ เลือกที่ให้ทรวดทรงเสียงเป็นตัวเป็นตน (3D)     มากกว่า ตื้น-ลึกดีกว่า (อย่าเชื่อลูกศรที่เขาสกรีนมาบนสาย เห็นผิดมาเยอะมาก)
                                4. ฟังทดสอบทิศทาง “เส้นฟิวส์” (ในเครื่อง, หลังเครื่อง)
                                5. อย่าวางเครื่องซ้อนกัน อย่างน้อยห่าง 1 คืบ
                                6. วางลำโพงเอียงเข้าหาตำแหน่งนั่งฟัง (TOE IN) ดูเหตุผลที่ต้อง TOE IN ในเว็บ maitreeav.com       ส่วนบทความ
                                7. ฟังทดสอบขาปลั๊กไฟ AC ว่าต้องเสียบอย่างไร (เฟสไฟ)
                                8. ดึงสายไฟ AC เครื่องอื่นๆ, เครื่องไฟฟ้า (เช่น พัดลม) ที่ไม่ได้ใช้ออกให้หมด แม้ว่าจะไม่ได้เปิดใช้            งานก็ตาม
                                9. ลองย้ายชุด INPUT ที่ตัวปรี หรืออินทิเกรทแอมป์ เช่น จากช่องรับ CD, ไป TUNER, ไป LINE1,             LINE2, AUX หรือ TAPE เลือกชุดที่ให้เสียงซ้าย, ขวาเหมือนกัน และให้มิติเสียงเป็นตัวตน มีทรวดทรงดีที่สุด      (3D)
                                10. ลองสลับสายบวก, ลบที่หลังแอมป์ (ที่เดียว, ทั้งซ้าย/ขวา) ให้ได้เสียงหลุดลอยออกมาจากลำโพง      (Absolute Phase ถูกต้อง กรวย, โดม, ลำโพง ขยับดันอากาศมาหาเรา)
                                11. เวลาฟังทดสอบ สมมติเลือกเพลงที่ 4 เรากดเครื่องเล่น CD จาก STOP, ไป PLAY, ไป 4, ฟัง,             แล้วจำไว้ จากนั้นกดย้อนกลับมา เพลง 4-1 คือ 3, กดข้ามไป 4, กด PAUSE, กด PLAY (4) เพื่อให้การหยุดแล้ว      หมุนของแผ่น ถูกกลไกเครื่องเล่นควบคุมเหมือนกันที่สุด ในการย้อนกลับมาฟังเทียบ
                                12. ถ้าเป็นลำโพง ขั้วไบ-ไวร์ ต้องใช้สายลำโพง 2 ชุดเหมือนกัน เข้าชุดแหลม, ชุดกลางทุ้ม (กรณี              ลำโพง 2 ทาง) แยกอิสระ ไม่แตะต้องกัน ห้ามใช้สายลำโพงไบ-ไวร์สำเร็จรูป (เข้า 2 ออก 4) การใช้สายลำโพงชุด   เดียวกับลำโพงขั้วไบ-ไวร์ เสียง มิติ จะแย่ลงพอควร และสายจั๊ม บวกไปบวก, ลบไปลบ จะมีผลต่อเสียง, มิติเสียง
                                13. เอาหน้ากากลำโพงออกด้วย
                                14. ใช้อัลบั้ม CD ที่บันทึกมาดีหน่อย จะได้ไม่หลงประเด็นที่ตัวแผ่น
                                15. ถ้ามีจอ LCD พยายามขยับจอให้ห่างเครื่องเสียงที่สุด

                การจัดวาง RT-1

                1. ถ้ามี 1 กล่อง ให้เลือกวางที่เครื่องเล่นแผ่น วางตั้ง ไล่ไปทีละมุมวาง โดยวางกล่องอยู่ด้านซ้ายหรือขวา ติดแทบแตะกับตัวเครื่องเล่น
                2. ถ้ามี 2 กล่อง 1 กล่องแรกทำตามข้อ 1, กล่องที่ 2 วางชิดด้านหลังศีรษะเราตรงกลางเป๊ะ มิติจะโฟกัส ลอย ลองวางตั้งหรือนอน (ตั้งก็หมุนไล่มุมวาง ลองดูทั้ง 4 ด้านของกล่อง, ถ้าวางนอนก็ลองสลับบน, ล่างและหมุนหามุมวาง)
                3. ถ้ามี 3 กล่อง ถ้าดูหนังด้วย กล่องที่ 3 วางนอนชิดแทบติดด้านหลังจอ (แต่ถ้าไม่สะดวก ก็วางหน้าจอด้านล่าง เพื่อกันคลื่นจากจอไปกวนเครื่องเสียงด้วย) (อาจลองวางตั้ง แต่ต้องไม่ไปปิดรูระบายอากาศหลังจอ LCD) ถ้าเล่นโปรเจคเตอร์ วางกล่องไว้ใกล้ๆ ตัวฉาย
                4. ถ้ามี 4 กล่อง กล่องที่ 4 ติดกับปรีแอมป์ ลองวางนอน (หามุม) บนหรือล่าง ปรีหรือด้านหลังปรี กรณีอินทิเกรทแอมป์ก็วางแบบปรี
                5. ถ้ามี 5 กล่อง กล่องที่ 5 วางแบบข้อ 4 เช่นกัน
                6. ถ้ามี 6 กล่อง กล่องที่ 6 วางใกล้เพดานห้อง ดักดูดคลื่นจากดวงไฟ LED ที่เพดาน
                7. ถ้ามี 7 กล่อง เพิ่มที่หลังจอ LCD อีก 1 กล่อง ถ้าเป็นจอใหญ่เกิน 40 นิ้วขึ้นไป
                8. ถ้ามี 8 กล่อง เพิ่มรอบๆ เครื่องเล่นแผ่น (เครื่อง Streaming สัญญาณ หรือ เครื่องเล่นไฟล์) วางตั้ง (ไล่หาด้านที่วางด้วย)
                9. ถ้ามี 10 กล่อง เอาไปวางใกล้ขั้วรับสายลำโพงที่หลังตู้ลำโพง ตู้ละ 1

                ผลการใช้

                ตอนที่ผมทดสอบ RT-1 ครั้งแรก แค่ 3 กล่องก็ช๊อคแล้ว ดีขึ้นถึง 100% การเพิ่มกล่องมากขึ้นๆ การดีขึ้นจะไม่ก้าวกระโดด เช่นจาก 3 กล่อง เป็น 4 กล่อง จะดีขึ้นเป็น 100 + 30 = 130%  จาก 4 เป็น 6 กล่อง ดีขึ้น 100 + 30 + 20 + 5 = 155%

                คุณอาจคิดว่า ถ้ามีเงินก็ไม่น่าจะจำเป็นต้องเล่นเกิน 4 กล่อง แต่อย่าลืมว่า พออยู่กับ 4, 5, 6 กล่องไปนานๆ เปอร์เว็นต์ที่ดีขึ้นจะเขยิบขึ้นไปเรื่อยๆ เช่น ตอนนี้ผมใช้ 6 กล่อง ถ้าผมเอาออก 3 กล่อง มันไม่ใช่กลับมาที่ 100% ดีขึ้นเทียบกับไม่ใช้ แต่จะเหมือนจาก 155% ที่ดีขึ้น เป็นเหลือประมาณ 75% ดีขึ้นจากไม่ใช้เลย

                มีข้อควรทราบ

                ก็เช่นเดียวกับการเช็ดเลนส์กล้องจนเกลี้ยงสะอาด คุณย่อมมองเห็น ”ความจริง” มากขึ้น ไม่ว่า สิวเสี้ยน, รอยแยกแตก, ขอบตาล่างที่คล้อยต่ำบวม ฯลฯ มากขึ้น สาวเจ้าอาจไม่สวยหวาน หน้าเกลี้ยงเหมือนตอนเลนส์สกปรกเป็นฝ้า คุณคงไม่โทษ ผ้าเช็ดเลนส์

                RT-1 ก็เช่นกัน คุณจะเข้าถึง บุคลิก ของแต่ละอุปกรณ์ในชุดเครื่องเสียงคุณได้แม่นยำ, ชัดกระจ่าง ตามความเป็นจริงมากขึ้น รวมทั้งแต่ละอัลบั้มเพลง (หนัง) ที่นำมาฟัง (ดู)

                แน่นอน คงช่วยไม่ได้ที่ RT-1 จะฟ้องอะไรบางอย่างที่ขาดๆ เกินๆ ขณะเดียวกัน อะไรที่ไม่ควรแย่กว่าที่น่าจะเป็น RT-1 ก็จะประคับประคอง เท่าที่มีดีอยู่แล้ว ให้ฉายความดีได้เด่นชัดขึ้น เช่น อาจฟ้องการบันทึกมิติเสียงที่ไม่ได้เรื่องของอัลบั้มหนึ่ง แต่พร้อมๆ กัน ก็ฉายการสอดใส่อารมณ์ของเสียงร้องได้มีชีวิต จิตวิญญาณ สมจริงมากขึ้น ปลายแหลมอ่อนโยนขึ้น ทุ้มมีน้ำหนักดีขึ้น

                อุปกรณ์เสริมที่ดีๆ ต้องออกมาแนวนี้ ไม่ใช่แต่งเติมลูกเดียว เต็มไปด้วยสีสัน ฟังนานๆ เลี่ยน น่าเบื่อ ไม่เป็นกลางจริง คนที่พูดความจริงอาจไม่ไพเราะ แต่ใสซื่อบริสุทธิ์ ไว้ใจได้

                ในกรณีที่ใช้ในห้องนอน

                ถ้าเป็นไปได้ ควรเริ่มที่ 4 กล่อง เหนือศีรษะ 2, ซ้าย 1, ขวา 1 จะให้ความ “สงัด” (ในสมอง) อย่างรู้สึกได้ ไม่ใช่สงัดที่หู (เสียง)
                ถ้างบจำกัดจริงๆ ก็ 1 กล่อง ใกล้/เหนือศีรษะ
                ถ้าวางนอน จะสงัดแบบ เป็นแผง, เป็นก้อน ถ้าวางตั้งจะสงัดแบบโปร่งโล่ง
                แล้วแต่ชอบ แล้วแต่สถานที่นอน
                ถ้าใช้สัก 3-4 วันขึ้นไป จะรู้สึกว่า ไปไหน (ข้างนอก) ความสงัดในหัวก็ยังอยู่

หมายเหตุ ใครที่อยู่ใกล้เสาส่ง-รับคลื่นมือถือ ควรเพิ่มอีกรอบๆ ห้องฟัง ยิ่งถ้าห้องฟังเป็นห้องเดียวกับห้องนอนยิ่งดีใหญ่ กล่อง RT-1 เหล่านี้ในชุดเครื่องเสียง ก็จะช่วยป้องกันคลื่นมือถือ มาเป็นพิษต่อสุขภาพของเราด้วย (มะเร็งล้วนๆ ภูมิคุ้มกันบกพร่อง เต็มๆ)

สำหรับท่านที่มีข้อข้องใจ หรืออยากแลกเปลี่ยนประสบการณ์การใช้ RT-1 เพื่อทาง อจ.นิตพินัย จะนำไปปรับปรุงต่อๆ ไป ส่ง E-mail หาผมได้ที่ mavworld94@gmail.com

www.maitreeav.com

www.maitreeav.com
สำนักงาน : 313/129 ซ. เคหะร่มเกล้า 64 แขวงคลองสองต้นนุ่น เขตลาดกระบัง กรุงเทพฯ 10520
โทร. 081-5500269 , 099-569-6459