000
ปรึกษาเครื่องเสียง อจ. ไมตรี โทร 099-569-6459    
 
บอร์ดพูดคุย, ซื้อ-ขายเครื่องเสียง
>> audio-teams.com
>> noom-hifi.com
>> wijitboonchoo.com
>> hifi55.com  
>> sk-audiophile.com
>> htg2.net
นิตยสารเครื่องเสียง
>> what Hi-Fi? Thailand
>> The Wave
>> Audiophile-Videophile
>> gm2000.com
>> The Stereo
ร้านค้าเครื่องเสียง
>> Piyanas Electric
>> KS Sons Group
>> Conice (บ้านทวาทศิน)
>> อัศวโสภณ
>> munkonggadget.com
>> bkkaudio.com
 
ปรับขนาดตัวหนังสือ เช่น 15, 16, 18, 20, + + / ยกเลิกใส่ 0 :

หมวดหมู่ > Made in Thailand > Made In Thailand > เปิดใจคนไทยผู้สร้างนวัตกรรมเครื่องเสียงแห่งศตวรรษ
วันที่ : 20/05/2017
11,447 views

เปิดใจคนไทยผู้สร้างนวัตกรรมเครื่องเสียงแห่งศตวรรษ

โดย...อ. ไมตรี ทรัพย์เอนกสันติ

ถาม        อยากทราบประวัติ อจ. นิตพินัย คร่าวๆ ครับ
ตอบ        ผมจบปริญญาตรี วิศวกรรมศาสตร์ สาขาไฟฟ้าสื่อสาร (เกียรตินิยม) จากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (KMITL)
                เคยทำงานที่บริษัท AT&T ในตำแหน่ง วิศวกรอาวุโส ฝ่ายตรวจสอบ จากนั้นโอนย้ายไปเป็นวิศวกรวิจัยและพัฒนา (R&D) ที่ Bell Labs อินเดียนาโปลิสอยู่ 5 ปี แล้วไปดูแลการส่งกระจายเสียงผ่านดาวเทียม (บริษัทชินวัตร แซทเทลไลท์) ต่อมาเขยิบไปเป็นหัวหน้าโครงการ ออกแบบติดตั้งการส่งกระจายเสียงระบบ DIGITAL ผ่านดาวเทียม ที่สถานีควบคุมดาวเทียม อ.ลาดหลุมแก้ว ปทุมธานี ซึ่งใช้เทคโนโลยี SDI, MPEG2, DVB อยู่ 7 ปี
                ปัจจุบันเป็นผู้จัดการฝ่ายวิศวกรรมของ PERFECT HOME CINEMA
                งานอดิเรกคือ เขียนบทความด้านเทคโนโลยีภาพและเสียง รวมทั้งทดสอบผลิตภัณฑ์ให้แก่นิตยสาร WHAT AV

       

ถาม        แสดงว่า อจ. คลุกคลีอยู่กับคลื่นความถี่สูงมาแบบโชกโชนทีเดียว
ตอบ        ครับ ต้องเรียนให้ทราบก่อนว่า คลื่นความถี่สูง อย่างพวกที่ใช้กันในระบบสื่อสาร, IT มันละเอียดอ่อนสุดๆ ต้องพิจารณากันระดับไมโคร ไม่หมูแบบเครื่องเสียง แค่ audio frequency เรื่องคลื่นวิทยุ (RF) คุณแตะอะไรลงไป ขยับอะไรสักนิด ล้วนมีผลหมด

ถาม        อะไรที่ชักนำให้ อจ. ก้าวเข้าสู่เครื่องเสียงและภาพเต็มตัว
ตอบ        ผมสนใจเครื่องเสียงมาตั้งแต่เด็กๆ ก็ อจ.ไมตรีนี่แหละที่จุดประกายให้ผม ตอนนั้นอายุแค่ 10 ขวบ เงินก็มีไม่มาก อยากได้อยากเล่นอะไรก็ต้องทำและประกอบเอง ตระเวนเล่นชุดประกอบเอง (คิท) จากบริษัท ICE ร้านนำเข้า IC ดังตอนนั้นก็ศรีสุทธา ก็เป็นลูกค้าประจำ
                ประกอบกับคุณแม่ชอบฟังเพลง ก็ไปหาซื้อแผ่นเสียงแถวสะพานเหล็ก พอเข้ามหาวิทยาลัยจึงเลือกเรียนอิเล็กโทรนิคส์ จริงๆ ผมก็ศึกษาด้วยตัวเองมาก่อนหน้าแล้ว

ถาม        อยากทราบผลงานของ อจ. ตลอด 20 ปีมานี้ครับ
ตอบ        ผมก็รับเป็นที่ปรึกษาทางเทคนิคให้แก่ยี่ห้อดัง พร้อมกับทำตัวกรองไฟ AV ZONE ก็ไปเรื่อยๆ เราทุนน้อย เน้นคุณภาพระดับอาชีพ ทำไม่เยอะครับ นอกจากนั้นก็ทำกล่องตัวแปลงสัญญาณเสียง RCA/BALANCE
                รับปรับปรุง และรับซ่อมเครื่องเสียง รวมทั้งอุปกรณ์ด้านโทรคมนาคมด้วยครับ พวกนี้ต้องใช้ความรู้ด้านวิศวกรรมขั้นสูงทั้งนั้น ไม่ได้ง่ายๆ อย่างเครื่องเสียง

    

ถาม        ว่าไปแล้ว อจ. ถนัดด้านไหนเป็นพิเศษไหมครับ
ตอบ        ผมถนัดหมด ด้านเทคนิคลึกๆ มันไม่ต่างกันหรอกครับ

ถาม        ปรัชญาในการทำงานของ อจ. ครับ
ตอบ        ผมมั่วไม่เป็น ทุกขั้นตอนต้องวัดทดสอบไปด้วยหมด วัดของเดิม วัดของใส่แทนใหม่ วัดผลรวม/เดี่ยวที่ได้

ถาม        (เห็นเครื่องมือวัดของ อจ. ลานตาไปหมด) อจ. หมดไปเท่าไหร่กับเครื่องมือวัดแพงลิบลิ่วพวกนั้น
ตอบ        น่าจะร่วมล้านบาทแล้วครับ

ถาม        อะไรเป็นแรงบันดาลใจให้ อจ. คิดทำ “กล่องดูดคลื่นขยะ” RT-1 ขึ้นมาครับ
ตอบ       วันหนึ่ง ผมมานั่งคิดๆ ว่า ปัจจุบัน ชีวิต ความเป็นอยู่ของพวกเราหนีพวกคลื่นวิทยุความถี่สูง (RF) ไม่พ้นแน่ เอาง่ายๆ ก็คลื่นโทรศัพท์มือถือ ทั้งรับและส่ง, คลื่น WiFi, คลื่นสถานีวิทยุโทรทัศน์
                คุณทราบไหม แม้แต่พวกหลอดส่องสว่าง LED ยอดฮิตที่มาแทนหลอดนีออน, หลอดมีไส้, ทีวี LCD พวกนี้ส่งกระจายคลื่นความถี่สูง (RF) ออกมาทั้งทางสายไฟ AC ที่มันต่ออยู่, ทางอากาศ มันเยอะน่ากลัวมาก มีผลต่อทั้งเครื่องเสียงและภาพ รวมทั้งร่างกายสิ่งมีชีวิต มนุษย์, สัตว์ หรือแม้แต่พืช
                ผมจึงอยากทำอะไรสักอย่างที่มารับมือกับคลื่นขยะเหล่านี้ และนั่นคือ RT-1 ที่แม้ว่าจะจัดการได้ทางอากาศอย่างเดียว แต่ผมคิดว่า มันก็ช่วยได้เยอะแล้ว

                โดยทั่วไป การจัดการกับคลื่น RF ทางอากาศ เขาจะมี 4 วิธีการใหญ่ๆ คือ
                1. ป้องกันไม่ให้เกิดที่แหล่งต้นทาง อย่างจอ LCD, หลอด LED, WiFi ซึ่งออกแบบยากมาก ต้นทุนสูง
                2. วางจุดกำเนิดนั้น ให้ห่างไกลออกไปมากที่สุด แต่ในทางปฏิบัติทำได้ยาก
                3. ทำกล่องปิดผนึกสิ่งที่ก่อให้เกิด RF ขยะ แต่ต้นทุนจะสูง เกะกะ บางกรณีทำไม่ได้เลย
                4. ทำตัวดูดใส่สายคลื่นที่วิ่งมาถึงอุปกรณ์ที่เราไม่อยากถูกกวน รวมทั้งไม่ให้เหลือมารบกวนตัวเรา, สัตว์, พืช วิธีนี้น่าจะสะดวกและเป็นไปได้ที่สุด เข้าได้กับทุกสถานการณ์ที่สุด นี่คือวิธีที่ RT-1 ทำงานอยู่
                อยากรู้ว่าคลื่น RF ขยะพวกนี้แรงแค่ไหน ลองโทร.มือถือใก้ชิดกับโทรศัพท์บ้าน, เครื่องเสียงหลอดดู จะมีเสียงจี่ออกแช่อยู่ตลอด บางครั้งดังตึ้กๆ ออกชัดแจ๋วเลย

     

ถาม        RT-1 อจ.ใช้เวลาออกแบบนานไหมครับ
ตอบ        ประมาณ 1 ปี ผมลองหมดทุกแง่มุม, รูปแบบ ใส่ทุกความรู้ที่สั่งสมมาร่วม 30 กว่าปี วงจรอาจดูไม่ซับซ้อนแต่ออกแบบยากมาก มันสุดจะละเอียดอ่อนเลย ขยับนิด กระดิกหน่อย มีผลหมด ผมจะไม่ลดต้นทุนและทำวงจรง่ายๆ ที่ทำงานได้แค่ช่วงความถี่แคบๆ จำเพาะช่วงเดียว แถมลดเกรดอุปกรณ์ต่ำสุด นั่นไม่ใช่ระดับวิศวกรดาวเทียมเขาทำกัน วงจรของผมจะทำงานที่ช่วงความถี่กว้างมาก มากกว่าที่ผมตั้งใจแต่แรกเสียอีก ทั้งนี้ก็เพื่อให้ RT-1 มีประสิทธิภาพที่ได้ผลจริง ดีมาก และฟังออกได้จริง อีกทั้งใช้อะหลั่ย อุปกรณ์ที่เกรดสูงสุด คัดแล้วคัดอีก โดยไม่สนใจว่า ผลกำไรจะเหลือน้อยนิด ไม่สมกับภูมิปัญญาระดับวิศวกรดาวเทียม
                พูดตรงๆ ผมอยากให้ราคาของ RT-1 ไม่แพงมาก ให้ทุกคนเอื้อมถึง ทุกครั้งที่ผมเห็นนักเล่นระดับกลางสูงลงล่าง ต้องสู้กัดฟันเก็บเงินเพื่อเปลี่ยนแอมป์ใหม่, ลำโพงใหม่, เครื่องเล่นใหม่ ต้องควักเป็นหมื่นๆ ขึ้นไปเพียงเพื่อ “อะไรบางอย่าง” ดีขึ้นแค่ 10-15% ผมสงสารจับใจ  อยากให้พวกเขาได้เล่น ได้รู้ว่า ถ้าเขาลองเอา RT-1 ไปใช้ แม้แค่กล่องเดียว ถ้าจัดวางได้อย่างถูกต้อง ลงตัว มันทำให้ชุดเครื่องเสียงของเขาดีขึ้นได้ถึง 100% โดยลงทุนกับ RT-1
แค่ 3,800 บาท (ปกติ 5,200 บาท)
                กับเครื่องเสียงชุดใหญ่ แพงๆ ยิ่งจะชวนตื่นตะลึง และทุกคนที่ซื้อ RT-1 ไปใช้ พูดเป็นเสียงเดียวกันว่า ทนฟังเสียงเดิมๆ อย่างนั้นได้อย่างไรเป็นปีๆ หลายชุดตอบกลับว่า “หน้ามือกับหลังมือเลยครับอาจารย์” บางคนรีบโทร.บอกพรรคพวกมาสอย RT-1 ด่วน บางคนซื้อแจกเพื่อนๆ นักเล่นเลย
                ผมอยากฝาก RT-1 ไว้แก่วงการ ไม่ใช่เรื่องเงินทอง หากแต่เพื่อสะกิดให้พวกเรานักเล่นเครื่องเสียง ถึงไม่ใช่นักเล่นก็ตาม ได้ตระหนักและป้องกันตนเองโดยด่วน จากคลื่นเพชรฆาตที่อยู่รอบตัว ทั้งวันและคืน

www.maitreeav.com

www.maitreeav.com
สำนักงาน : 313/129 ซ. เคหะร่มเกล้า 64 แขวงคลองสองต้นนุ่น เขตลาดกระบัง กรุงเทพฯ 10520
โทร. 081-5500269 , 099-569-6459