000
ปรึกษาเครื่องเสียง อจ. ไมตรี โทร 099-569-6459    
 
บอร์ดพูดคุย, ซื้อ-ขายเครื่องเสียง
>> audio-teams.com
>> noom-hifi.com
>> wijitboonchoo.com
>> hifi55.com  
>> sk-audiophile.com
>> htg2.net
นิตยสารเครื่องเสียง
>> what Hi-Fi? Thailand
>> The Wave
>> Audiophile-Videophile
>> gm2000.com
>> The Stereo
ร้านค้าเครื่องเสียง
>> Piyanas Electric
>> KS Sons Group
>> Conice (บ้านทวาทศิน)
>> อัศวโสภณ
>> munkonggadget.com
>> bkkaudio.com
 
ปรับขนาดตัวหนังสือ เช่น 15, 16, 18, 20, + + / ยกเลิกใส่ 0 :

หมวดหมู่ > รายงานบททดสอบ > เครื่องเสียงบ้าน > SOKEN P-700 : อย่าฟังลำโพงคู่นี้
วันที่ : 02/02/2017
20,847 views

SOKEN P-700 : อย่าฟังลำโพงคู่นี้
โดย...อ. ไมตรี ทรัพย์เอนกสันติ

                 จะด้วยความบังเอิญก็ได้ วันหนึ่งเพื่อนยกกล่องลำโพง SOKEN P-700 มาให้ลองฟังถึงที่บ้านเลย บอกว่าเขาได้ตัดชุดลำโพงเซอร์ราวด์ SOKEN P-700 มาจำนวนหนึ่ง เพราะเห็นว่าหน่วยก้านดี ราคาทั้งชุดแค่ไม่กี่พันบาท ถ้าดี ก็ให้ผมช่วยประชาสัมพันธ์ลงเว็บไซต์ให้หน่อย ของมันถูกมาก เขาคงไปจ่ายเงินลงโฆษณาหลายๆ หมื่นในนิตยสารไม่ไหว  กำไรก็ค่อนข้างต่ำทีเดียวอยู่แล้ว คือ เขาฟังมาแล้ว (คู่หน้า) คร่าวๆ เขาชอบมากๆ อยากให้แฟนคลับของ อจ. ไมตรี ได้เอาไปชื่นชม ถือว่าแบ่งกันเล่น แบ่งกันฟังก็แล้วกัน  เขาเองไม่ได้เดือดร้อนเรื่องค้าขายแบบนี้  ใจรักมากกว่า ว่างั้นเถอะ

                ลำโพง P-700 ที่ผมนำมาลองฟังทดสอบ ผมเน้นคู่หน้าคู่เดียว คู่หลัง (วางหิ้ง), กับตู้เซ็นเตอร์ ดอกทำนองเดียวกัน เป็น 2 ทางแท้ๆ (มีแผงวงจรแบ่งเสียงจริงๆ)

  

              P-700 (คู่หน้า) เป็นลำโพงวางพื้น สูงน่าจะประมาณ 1.30 เมตร หน้าไม่แคบ ไม่กว้าง กำลังดี มีดอกลำโพง เสียงแหลม (โดมนิ่ม) พร้อมจานดอกรอบๆ ทำเป็นปากแตรกลม เหมือนลำโพงแพงๆ เลย  ถัดลงมาติดๆ กัน เป็นดอกกลางทุ้ม ขนาดน่าจะร่วมๆ 6 นิ้ว กรวยน่าจะเป็นโปลี่ สีดำ ขอบยาง ชอบมากตรงที่กลางกรวย (Dust Cab) ทำเป็นหัวจรวด ช่วยเร่งความเร็วของเสียงกลางกรวยให้วิ่งตามเสียงจากขอบนอกของกรวยได้ทันกัน

               ถัดลงมาเป็นดอกกลางทุ้มอีกดอก  ทุกอย่างเหมือนกัน ระบบแบ่งเสียงน่าจะเป็น 2 ทาง (เบิ้ลดอกกลางทุ้ม 2 ดอก คงต่อขนานกัน)

               ขั้วลำโพงด้านหลังเป็นซิงเกิ้ลไวร์  ขั้วแบบ Binding Post (เสียบบานาน่าได้)  คุณภาพกลางๆ ไม่ดีมาก แต่ไม่กระจอกจนดูไม่ได้  รูระบายอากาศกลม เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2-3 นิ้ว อยู่เหนือขั้วต่อสายลำโพง แสดงว่า ระบบเบสแบบ Bass Reflex

            หน้ากากด้านหน้า สีดำโครงไม้ ตัวตู้แข็งแรงพอควร หนักน่าจะ 15 กก. ต่อข้าง / ตู้ ก็ไม่เบาจนลมพัดปลิวแบบตู้ถูกๆ ผนังตู้แข็งแรงพอควร การปะไวนิลผนังตู้ยังงั้น ๆ ไม่ถึงกับประณีตเนี๊ยบ  แต่ดูไกลๆ ก็โอเคเลย (ก็ตามราคาแหละครับท่าน) เชื่อไหมว่า งานตู้ดีกว่า ยี่ห้อฝรั่งบางยี่ห้อที่ราคาคู่ละร่วมหมื่นบาท วางหิ้ง 2 ทาง

              ลำโพงคู่หลัง 2 ทาง ดอกแหลมโดมเหมือนกัน ดอกกลางทุ้มขนาด 5 นิ้ว ตัวตู้โอเค ระดับเดียวกับคู่หน้า ถือว่างาน, รูปลักษณ์สอบผ่าน (ตามราคา)

              ตู้เซ็นเตอร์ (ผมไม่ได้แกะดู) น่าจะเหมือนคู่หลัง แต่เบิ้ลดอก 5 นิ้วเป็น 2 ดอก ตัวตู้ขนาดกำลังดี น่าเชื่อถือ ไม่กระจุ๋มกระจิ๋มจนเกินไป

หมายเหตุ ::   ย้ำอีกครั้ง ผมฟังทดสอบเฉพาะคู่หน้า คู่เดียวนะครับ

สเปค

ความถี่ตอบสนอง   : 40 Hz – 20,000 Hz

ความไว  : 89 dB

ความต้านทาน  : 6 โอห์ม

รับกำลังขับได้ : 20 – 120 W

ผลการทดสอบ

                 จากเครื่องเล่น Bluray OPPO BDP105 (ปรับปรุงภาคจ่ายไฟโดย Power Perfect….. น่าทำนะครับ ไม่แพงมาก ช่วยได้จริงทั้งภาพและเสียงดีขึ้น ออกสายเสียงบาลานซ์ Madrigal CZ-GEL2  ไปเข้าอินทิเกรทแอมป์ Mark Levinson No. 383 (100 W-RMS/CH ที่ 8 โอห์ม, 200 W-RMS/CH ที่ 4 โอห์ม) ออกสายลำโพง Furkawa S-2 (ตามทิศ) ไป P-700

             เอียงลำโพง (TOE IN) ปรับองศาได้ ทรวดทรงเสียง 3D และเสียงครบที่สุด  เอาหน้ากากลำโพงออก

                ยกสายลำโพงสูง หนีพื้นห้องด้วยตั้งกระดาษพิมพ์ดีด (ใหม่) สูง 1 คืบ และเอาอีก 2 รีม (1 คืบ) วางทับบนสายไฟให้นิ่ง

               สายไฟ NORDOST รุ่นถูกสุดเข้า NO.383, สายไฟ CHORD ไป TV LCD 24 นิ้ว FULL HD ของ TOSHIBA สายภาพ HDMI HD-2000 ของ Monster (เสียบย้อนทิศ) สายไฟ AC ยกจาก NO.383 มาให้ OPPO

            ด้านบนเครื่อง OPPO มี ผลึกต่างๆ ทั้งลูกกรง โครงปิรามิดควอตซ์ สูง 1 ศอก (ของเยอรมัน) แผ่นอาเกต แท่งควอตซ์ 3, แท่งอ๊อบซีเดียน 1, ก้อนกลมอ๊อบซีเดียน ขนาด 2 นิ้ว อีก 1, พุ่มอะมิทิสขนาด 2 ฝ่ามือ

              ใต้ OPPO มีแท่นรอง Tombo PPS-01, ขารุ่น Magic Spike สายไฟทั้งหมด ต่อผ่านตัวกรองไฟ PHD Power Station (ไม่มีการอั้นกระแสไฟ, เลือกรูไฟออกได้ 2 ชุด (ที่ Line กับ Neautral สลับกัน) (เป็นยี่ห้อเดียวในโลกที่คำนึงจุดนี้)  สายไฟเข้ากล่องใช้ Furukawa CB-10 (3 เส้น เรียงทิศถูกต้อง)  หัว Watt Gate (ผู้/เมีย เอาน๊อตที่หัวออกหมด)

               หัวปลั้กกรองไฟ PHD2 เสียบเต้าเสียบตัวเมียที่ว่าง ในห้อง 3 หัว ที่กล่อง PHD อีก 1 แผงไฟเข้าห้องเสียงอีก 2 (ทุกตัวฟังทดสอบทิศทางขาเสียบ)

              มีก้อนแร่ ทัวมาลีนในห้อง ที่เต้าเสียบตังเมียที่กำแพง (เป็นของ Monitor Acoustic รุ่นสีเทาสูงสุด) 1 ก้อน, ที่ขาเข้ากล่อง PHD1, ขาออก 2, ขาเข้า LCD 1, OPPO 1 , No.383 อีก 1, ที่พื้นใกล้ขาขวาอีก 1, ทุกก้อนฟังทดสอบทิศทาง (คว่ำ / หงาย, องศา)

               มีพุ่ม อะมิทิส ขนาด 6 กำปั้นอีก 1 ก้อน อยู่ด้านขวาของ OPPO กล่องตัวอย่างผลึก 12 ก้อนจิ๋วของ Judy Halls อีก 5 กล่อง ในห้อง (กลางห้อง 1, ด้านหลังนั่งฟังอีก 4)

               กระบอกแม่เหล็กกรองไฟปรับสภาพไฟบ้าน AC ของ HFC MC-0.5 อีก 1 แท่ง เสียบที่แผงไฟนอกห้อง (ฟังทดสอบทิศทางขาเสียบแล้ว) กระบอกนี้น่าใช้มาก

               ยกสายทุกเส้นลอยตัวในอากาศ ไม่แตะต้องอะไร ด้วยเส้นเอ็นจากเพดานห้อง (ปูน)

               ลำโพงซ้าย, ขวา ห่างกัน 2 เมตร ห่างจากจุดนั่งฟัง 3-6 เมตร ห้องฟังประมาณ 3.85 x 9 x 2.5 เมตร กำแพงมีแผ่นฟองน้ำเก็บเสียง SONEX (รุ่นสีขาวจากเยอรมัน)  มีของอื่นๆ ในห้องเยอะพอควร  (แผ่น CD, DVD, Bluray, หนังสือ) ไม่ก้องแน่ ปัดลมแอร์ลงหลังลำโพง (25 องศา C, ลม LOW)

             ภายในห้องไม่มี Wi-Fi/Lan  (นอกจากคลื่นรั่วมาจากรอบๆ บ้าน ประมาณ 6 Spot) ไม่มีโทรศัพท์มือถือ,PC, Labtop, กล้องดิจิตอล, เกมส์, นาฬิกาไฟฟ้า (แขน, ข้อมือ) ไม่มีรีโมท (แอมป์, LCD, แอร์)

               เปิดเพลง เบิร์นอิน P-700 อยู่ 17 ชั่วโมง ซึ่งก็น่าจะพอเพียง เพราะดอกลำโพง ไม่ตึงตัวจนมากมายอะไร

               เรียนตามตรงว่า ผมเองไม่ได้คาดหวังอะไรมากนักกับลำโพงคู่นี้ ขอแค่อย่าเจี๊ยว จ้าน แจ๋น ตูมตามอุบาทว์หู ก็พอแล้วกับลำโพงไม่กี่พันบาทอย่างนี้ (คิดง่ายๆ ผมลองหักค่าลำโพงเซ็นเตอร์กับคู่หลังออกสัก 1,900 บาท เท่ากับคู่หน้านี้ แค่ 4,000 บาท/คู่...มันจะเหลืออะไรให้ฟังได้บ้าง!

            บางท่านอาจติงว่า อจ.ไมตรี เล่นเอาชุดทดสอบระดับไฮเอ็นด์และติดตั้งระดับโคตรเทพแบบนี้ ทดสอบอะไรมันก็ต้องออกมาดีแน่

              ขอเรียนตรงๆ ให้ทราบ ชุดทดสอบของผม เน้นที่เสียงเป็นกลางเที่ยงตรงที่สุด โดยเลี่ยงการใช้อุปกรณ์ที่มีบุคคลิกเสียงโจ่งแจ้งจนล้ำหน้าเกินงาม  อีกทั้งผมจูนแบบเน้นไม่ให้เกิดปัญหาการรบวนใดๆ ทุกรูปแบบ ทุกกรณี จึงกลับเป็นว่า ชุดนี้จะขี้ฟ้อง ตีแผ่อุปกรณ์ที่นำมาทดสอบเสียมากกว่าไปช่วยกลบเกลื่อน

             กับ P-700 ก็เช่นกัน ฟังครั้งแรกก็ถือว่าโอเคเลยนะ ดีอย่างผิดคาด จะติสักหน่อยก็ตรงที่เสียงแถวๆ 900-1,000 Hz จะโด่งนิดๆ สัก 1dB ซึ่งก็ไม่ถึงกับน่าเกลียด แต่พอเบิร์นไปสัก 14 ชั่วโมงขึ้นไป อาการโด่งนี้หายเรียบ

             ผมจะวิจารณ์หลังจาก 17 ชั่วโมง ก็แล้วกัน

            จากแผ่น CD นับ 10 อัลบั้ม (หลายอัลบั้มผมใช้ทดสอบเครื่องเสียงประจำ) สรุป ดังนี้

1.  เสียงโดยรวมราบรื่นเอาเรื่องเลย ตั้งแต่ทุ้มถึงปลายอหลม จะติก็ที่ทุ้มจะออกเยอะไปนิด (สัก 1.5-2 dB) แต่ถ้าใครไม่ได้เล่นกับแอมป์ที่กำลังถึงๆ อย่าง No.383 แต่เป็นแอมป์ชาวบ้านทั่วไป จะลงตัวพอดี จะราบรื่นตั้งแต่ 50 Hz- 20 kHz ราบรื่นตลอด (ผมหมายความอย่างนั้นจริงๆ)

2. ปลายแหลมที่ดีผิดคาด มันเหมือนฟังจากลำดพงคู่ละหมื่นขึ้นไป มันเกลี้ยง สะอาด ไร้เสี้ยนสาก ไม่ผอมบาง, แบน แต่มีมวลเนื้อหนังกำลังดี และเหมือนกับว่า ความถี่สูงสุดไปได้ถึง 22 kHz ไม่ใช่แค่ 20kHz

ฟังใหม่ๆ อาจเหมือนปลายแหลมดูอบอุ่นไปนิด ไม่สดเป็นประกายนัก แต่พอฟังไปเรื่อยๆ นานๆ หลายๆ อัลบั้ม กลับรู้สึกว่ามันก็มีครบ อย่างน่าฟังด้วย สดพองาม ติดหวานกลมกล่อมนิดๆ เสียงแบบของแพงกันเลย

3. เสียงทุ้มที่ล้นหลาม แผ่กระจายเต็มห้อง ไม่ใช่ห้องก้องนะ ห้อมล้อมตัวเรา โอเคมันคงไม่คมชัด กระชับสุด รายละเอียด สุดๆ แต่เชื่อว่าเป็นใครก็คงยิ้มรับมันได้ ยิ่งแอมป์วัตต์ต่ำ สายลำโพงเล็กยิ่งเริงร่าเลย

4. รายละเอียดหยุมหยิมดีผิดคาด (มาก) อะไรที่ค่อยมากๆ อย่างที่เราไม่น่าจะได้ยิน ก็กลับได้ยินว่ามันแทรกเบาๆ แฝงตัวอยู่ ตรงนั้น ตรงนี้ คุณจะอดอุทานไม่ได้ว่า อ้าว มีตรงนั้นด้วยหรือ ไม่เคยสังเกตุมาก่อนเลย (นี่เป็นความประหลาดมากของลำโพงคู่นี้ โอเค ถ้าคิดว่า ลำโพงแพงๆ ก็ให้ได้ แต่คุณก็บอกว่า แพงๆ ซึ่งดอกคงกระชับเก็บตัวได้ดุจสายฟ้าฟาด, ตัวตู้คงแข็งแรง หนักอึ้ง ไม่ต่ำกว่า 40 กก. / ข้าง  วงจรแบ่งต้องชั้น 1 แต่ P-700 ไม่มีตัวช่วยเหล่านี้เลย...ทำไม?

5. คำตอบของข้อ 4 และความมหัศจรรย์ทั้งหมดของ P-700 อยู่ที่ตรงนี้
ความที่มันนำพาให้ทั้งเสียงหลัก (Fundamental) และความถี่คู่ควบ (Harmonics) ทั้งหลายทั้งปวง ทั้งด้านสูงกว่าความถี่หลัก และต่ำกว่าความถี่หลัก ทั้งหมดมาพร้อมกันได้ตลอดเวลา

            ไม่มีการแตกแถว ทำให้มัน “คาย” หลายสิ่งที่ซ่อนเร้นอยู่ใน 1 ตัวโน้ต, คำร้อง, ทุกๆ อากัปกิริยาของการร้อง, การเล่น แม้แต่อากัปกิริยาของความกังวานเดี่ยวของแต่ละเสียง และความกังวานผลรวมของทั้งวง ทั้งบรรยากาศ ออกมาได้แบบผมแทบไม่เคยพบเห็นมาก่อน (ถ้าจำไม่ผิด เคยพบกับลำโพงวางหิ้งคู่ละ 7 หมื่นกว่าบาทคู่หนึ่ง, JBL Centuries Gold (12 นิ้ว, 3 ทาง วางหิ้ง คู่ละ แสนกว่าบาท), ลำโพงเข้าใหม่ (ฟังที่ร้าน) VIVID Audio Giya 3 (1.7 ล้านบาท / คู่)

            พูดง่ายๆ ผมฟัง P-700 ครั้งแรกถึงกับ “อึ้ง” ไม่เชื่อหูตัวเอง มันเป็นประสบการณ์ที่แปลก และน่าประทับใจมาก ผมฟังอยู่ 2 ชั่วโมง  ขึ้นไปนอน อาการนี้ยังคงติดหูอยู่เลย SOKEN คงไม่ใช่มืออาชีพระดับโลกด้านลำโพง อันนี้เราไม่ปฏิเสธ แต่นี่คือ ความฟลุ๊ค หรือเปล่า ที่บังเอิญมันลงตัวไปหมด ทั้งบุคคลิกของแต่ละดอกลำโพง (และความฉับไว)  ความลงตัวของอุปกรณ์ ต่างๆ บนแผงวงจรแบ่งเสียง มันใช่เลย จนผมยกเลิกความคิดที่จะเอามันไปดัดแปลง ปรับปรุง เกรงว่า จุดฟลุ๊ค จะเคลื่อนหาย

             มันเป็นลำโพงที่จะ “กระชาก” อารมณ์และความสนใจของคุณได้อย่างไม่ยาก เรื่องมิติ รูปทรงเสียง อาจไม่แม่นยำเท่าลำโพงไฮเอ็นด์ หลายๆ หมื่นบาท แต่ เสน่ห์ ความน่าฟังของมัน คงยากที่จะหาใดมาเทียบ 

             นอกจากฟังเพลง CD ผมใช้ดูหนังไปด้วย  ขอเน้นว่า ผมใช้แค่ P-700 คู่หน้า คู่เดียว เท่านั้น (ที่ OPPO เปิดเสียง 2 CH ออกแบบ LT, RT ประจำไว้อยู่ตลอด)

              พูดได้แค่คำเดียวว่า P-700 “คู่เดียว”  เหลือ ๆ เลิกคิดเรื่องซับวูฟเฟอร์ได้เลย โอเคว่า มันอาจไม่หนักลึกแบบซับ แต่ปริมาณเสียงต่ำ ความกระหึ่ม มหึมา เกินพอ ไม่ว่าเสียงตึกถล่ม ยานอวกาศไล่ยิงกัน, สียง ทีเร็กซ์ กระทืบเท้า, ระเบิดตกลงมา  แถมช่วงโหม ก็ไม่มั่ว  ไม่อื้ออึง ก้องไปหมด (ถ้ามีปัญหานี้ก็โทษห้องคุณได้เลย) เสียงวิ่งไปหน้า มาหลัง หลังไปหน้า เสียงวิ่งวน เหนือเพดานห้อง เสียงกิ่งไม้โยก ซ้าย-ไป-ขวา / กลับมา ขวา ไป ซ้าย ที่มีสุนัขสายลับคาบอยู่ (Cats & Dogs ภาค 1) เสียงลอยข้ามเพดานห้อง ซ้าย ไปขวา ขวาไปซ้าย เลิกบ้าเรื่อง Dolby Atmos ไปได้เลย แค่ P-700 คู่เดียว เอาอยู่ ทุกระนาบของมิติเสียงแถมให้บรรยากาศที่กว้าง แผ่ทะลุกำแพงห้องออกไปทุกด้าน ทั้งด้านหลังลำโพง, ซ้าย, ขวา, หลังเรา, เพดาน

            ที่ผมถึงกับผงะ คือ แม้หรี่วอลลุ่มค่อยลงเหลือ 30%  ก็ยังให้สิ่งที่กล่าวมาทั้งหมด (สุ้มเสียง, มิติ, วิญญาณเสียง)   และเวที/บรรยากาศ “เหมือนเดิม” (!!!) เป็นแค่ เสียงทั้งหมด ค่อยลง เท่านั้น

            พูดตรงๆ ผมไม่เคยเจอชุดไหนจะทำได้ขนาดนี้ มีแต่พอหรี่ค่อยลง (กลัวเพื่อนบ้าน, เพื่อนห้อง ด่า, โวยวาย) เสียงทั้งหมด มีแต่ โบ๋, กลวงขึ้น น้ำหนักเสียง หายเกลี้ยง, เวที/บรรยากาศหุบไปกองที่ลำโพง พูดง่ายๆ ไม่ฟังดีกว่า

           ใครที่มีปัญหา ชอบดูหนัง (ฟังเพลง) แต่เปิดดังไม่ได้มาก P-700 จะช่วยคุณได้อย่างที่คุณนึกไม่ถึง และหาที่ไหนไม่ได้

สรุป

           คำวิจารณ์ของผม เหมือนกับกำลังวิจารณ์ลำโพงระดับ หลายหมื่น หลายแสน หรือล้านบาท ผมเวอร์เกินไปหรือเปล่า  .... มันช่วยไม่ได้จริงๆ ที่ต้องพูดความจริงและเป็นความจริงที่เหลือเชื่อด้วย จนสรุปได้ 4 ประเด็น

1. คุณจะเล่น ชุดอะไรอยู่ จงอุ้ม P-700 เก็บไว้ เพราะวันหนึ่ง มันอาจจะเป็น “ตำนาน” (เหมือนหูฟัง In Car SONY E484)

2. ถ้าคุณกล้าพอ ที่จะให้โอกาสแก่ตัวเอง ซื้อ P-700 มาประกบกับลำโพงที่คุณใช้อยู่ (ในห้อง ให้ฟังทีละคู่  คู่ไม่ฟังเอาออกนอกห้อง) แล้วคุณจะรู้ว่า ลำโพงเก่าของคุณดีแค่ไหน หรือสมควรขายลำโพงเก่าทิ้ง หันวาเล่น P-700

3. เมื่อไรก็ตาม ที่คุณอยู่กินกับ P-700 จนชินหู คุ้นเคย นั่นคือ เรื่องอันตรายอย่างยิ่ง  เพราพเวรกรรม มีจริง คุณจะแทบหาลำโพงคู่ใหม่ ที่มาแทน P-700 ไม่ได้เลย ไม่ว่าคุณพร้อมที่จะจ่ายแพงแค่ไหน

4. ก็เกริ่นแต่ต้นแล้ว...นี่มันเรื่องฟลุ๊ค ล้วนๆ
 

www.maitreeav.com

www.maitreeav.com
สำนักงาน : 313/129 ซ. เคหะร่มเกล้า 64 แขวงคลองสองต้นนุ่น เขตลาดกระบัง กรุงเทพฯ 10520
โทร. 081-5500269 , 099-569-6459