000
ปรึกษาเครื่องเสียง อจ. ไมตรี โทร 099-569-6459    
 
บอร์ดพูดคุย, ซื้อ-ขายเครื่องเสียง
>> audio-teams.com
>> noom-hifi.com
>> wijitboonchoo.com
>> hifi55.com  
>> sk-audiophile.com
>> htg2.net
นิตยสารเครื่องเสียง
>> what Hi-Fi? Thailand
>> The Wave
>> Audiophile-Videophile
>> gm2000.com
>> The Stereo
ร้านค้าเครื่องเสียง
>> Piyanas Electric
>> KS Sons Group
>> Conice (บ้านทวาทศิน)
>> อัศวโสภณ
>> munkonggadget.com
>> bkkaudio.com
 
ปรับขนาดตัวหนังสือ เช่น 15, 16, 18, 20, + + / ยกเลิกใส่ 0 :

หมวดหมู่ > ระบบเสียง PA > เครื่องเสียง PA > บันทึกเสียงอย่างไรไม่ให้ฆ่านักร้อง, นักดนตรี
วันที่ : 14/06/2016
7,864 views

บันทึกเสียงอย่างไรไม่ให้ฆ่านักร้อง, นักดนตรี

โดย...อ. ไมตรี ทรัพย์เอนกสันติ

เชื่อไหมล่ะ ต่อให้คุณเป็นนักร้องระดับเทพ นักดนตรีระดับเทวดา เวลาไปบันทึกเสียงทำอัลบั้มเพลง พวกคุณก็มีสิทธิ์ตกม้าตายอย่างเขียดได้ง่ายๆ ถ้าไปเจอกับห้องบันทึกที่ติดตั้งเครื่องไม้เครื่องมือแบบไม่รู้จริง ไม่รู้ลึก ฟังไม่เป็น รวมทั้งตัวช่างเสียเอง ที่ฟังไม่เป็นเช่นกัน (หูตะกั่ว)

                เรามาดูว่า เกิดอะไรขึ้น

                1. ถ้าสายไฟ AC บ้าน ที่ลากจากมิเตอร์ไฟมายังห้องบันทึก และภายในห้องบันทึกเอง เดินย้อนทิศ (เช่น จากการ “ฟังทดสอบ” อย่าเชื่อลูกศรใดๆ ที่สกรีนบนสายเด็ดขาด) พบว่า ต้องเดินเรียง อ่านยี่ห้อสาย เช่น สายไฟ THAI YAZAKI ต้องให้ตัว T อยู่ต้นสายจากมิเตอร์ไฟ อ่านไล่ไปถึงเต้าเสียบปลั้กไฟตัวเมียที่กำแพงห้องบันทึก สายยี่ห้อเดียวกัน รุ่นเดียวกัน ต่างขดกันหรือซื้อต่างช่วงเวลากัน ก็มีโอกาสที่จะสกรีนผิดถูกต่างกัน ต้องฟังทดสอบทุกขดที่ซื้อมา

                ถ้าเดินสาย AC ผิด ก็จบข่าว จะไม่มีโอกาสบันทึกให้เสียงน่าฟังได้เลย ทุกเสียงจะแบนเป็นหน้ากระดาษ แถมออกแจ๋น ฟุ้ง เหมือนเสียงไร้ทรวดทรง ขาดฮาร์โมนิกส์ นักร้องกี่คนๆ เสียงจะคล้ายกันไปหมด ไม่มีเสียงลงท้อง มีแต่แค่อก เครื่องดนตรีราคาแพงหรือถูก มีเกรดหรือตกเกรด เสียงจะคล้ายกันไปหมด และมีขนาดเล็กลง ดนตรีขาดความอวบอิ่ม กระหึ่ม ฉ่ำ ฟังเป็นอิเล็กโทรนิกส์ไปหมด (กับเครื่องเสียงอคูสติก)

                ดนตรี นักร้องจะไม่วางตัวเป็นลำดับขั้น ตื้นลึก ไล่จากหน้าไปหลังเวที จะบีบกระเถิบมาอยู่ในระนาบเดียวกัน เสียงกังวานแทนที่จะกังวานหลุดออกจากตัวนักร้อง นักดนตรีแล้ววิ่งหายไปหลังเวทีหรือขยายตัวแผ่ไปทั้งห้อง 360 องศา ก็เป็นแค่รัศมีแบบฟุ้งกระจายแนวตั้งรอบตัวนักร้อง นักดนตรี พาลให้หลงว่าเสียงก้องมากเกินไป และเสียงก้องไม่มีความตื้นลึก ทุกอย่างไม่เป็นบรรยากาศแต่เป็นแผ่นโปสเตอร์ ไม่โอบห่อหุ้มผู้ฟัง บางครั้งเหมือนค่อยไป บางครั้งเหมือนดังไป ช่วงเสียงจะปวดหัวมากในการปรับสมดุลเสียง มันเหมือนจับปูใส่กระด้งตลอดเวลา ระดับเสียง น้ำหนักเสียง จะตีกันอย่างสับสน ขึ้นอยู่กับการสวิงเสียงและความถี่ ช่วงโหมดนตรีมากชิ้นจะมั่วอื้ออึงไปหมด ฟังไม่ได้ศัพท์ ต่อให้ใช้ EQ มาดึงเสียงให้หลุดลอยก็ออกมาแบบเก๊ๆ หรือช่วยด้วยตัวถ่วงการสวิงเสียง (EXPANDER) ก็หลอกหู เหมือนมีคนคอยปรับวอลลุ่ม เดี๋ยวดัง เดี๋ยวค่อย วูบๆ วาบๆ ตลอดเวลา

                พูดง่ายๆ นรกอย่างเดียว แก้ไขอะไรไม่ได้ ลงทุนจ้างนักร้อง นักดนตรีมาก็เน่าสนิท สูญเปล่า อัลบั้มเพลงไทย เจอแบบนี้เยอะมากๆ เกือบ 100%

                วิธีแก้ ยกชุดมินิคอมโปของเราที่ฟังจนชินหู มาเสียบไฟ AC ฟังในห้องบันทึก ดูว่าเสียงแบน พิการดังกล่าวข้างต้นไหม กับแผ่น CD มากๆ แผ่น (ที่ฟังที่บ้านเราเป็นตัวตนดีกว่า น่าฟังกว่า) ถ้ามีอาการ “เน่า” สนิทดังกล่าว ก็ย้ายห้องอัดเถิดครับ ก่อนที่ผลงานจะ “เน่าสนิท” ตาม ต่อให้เชิญช่างเสียงช่างมิกซ์ระดับเทพมาช่วยก็ตาม

                2. ระบบไฟ AC ทิศทางถูกต้องแต่ไร้พลัง เคยพบมาแล้ว เวลาบันทึกแค่ดนตรี 1-2 ชิ้น เสียงก็กระเด็นหลุดลอยออกมาดี แต่พอมากชิ้นกว่านั้น ไมค์หลายๆ ตัว ปรากฏว่า เสียงทั้งหมดเริ่มถอยติดจอ เวทีเสียงถอยแบน ดนตรีแต่ละชิ้นเริ่มป้อแป้ แสดงว่าไฟในห้องอัดไม่เสถียรพอ บางแห่งจะใช้ตัวควบคุมรักษาแรงดันไฟ (POWER CONDITIONER หรือ STABILIZER) จริงๆ แล้ว เครื่องพวกนี้มักบิดเบือนมิติเสียง สุ้มเสียง เป็นของแถม บางรุ่นจะแถมสัญญาณรบกวนเข้ามา (NOISE) เสียงที่ทึบขึ้น ทรวดทรงเสียงเสีย (อาการผิดเพี้ยนเหล่านี้เกิดกับตัวกรองไฟด้วย ขนาดตัวรักษาแรงดันราคาเป็นแสนบาทก็ยังไม่บริสุทธิ์พอ จึงต้องเลือกให้ดีจริงๆ ต้องนำไปทดสอบที่บ้านกับเครื่องเสียงบ้านก่อนว่า ไม่ก่อปัญหาใดๆ มิเช่นนั้น ได้ไม่เท่าเสีย

                ที่สำคัญ เครื่องประเภทนี้เวลาใช้งาน ต้องยกสูงหนีพื้นห้อง (ด้วยเก้าอี้ไม้อย่าใช้เหล็ก เพื่อหลีกหนีโครงสร้างเหล็กในพื้นคอนกรีต)

                3. แม้แต่สายไฟ AC ของแต่ละอุปกรณ์ก็มีผล อย่าวางใจเด็ดขาด ว่าเขาทำมาถูกต้องดีแล้ว แม้แต่พวกที่หล่อหัวปลั้กมากับสายเลยก็ตาม (ส่วนมากสายพวกนี้ก็ไม่ใช่ของดีมากมายอะไรอยู่แล้ว ทิ้งไปหาใหม่ดีๆ รู้ทิศทางดีกว่า พวกรางไฟ AC ก็เหมือนกัน ประเภทขายตามห้าง ร้าน IT ราคา 300-900 บาทเลิกคิดได้เลย ขนาดพันกว่าบาทก็เถอะ พวกมีตัวป้องกันยิ่งแล้วใหญ่ (มักใช้ตัว MOV ป้องกัน ซึ่งทำลายคุณภาพเสียง รวมทั้งขนาดฟิวส์ถูกๆ ที่แถมมาด้วย ก็มีผลมาก)

                4. บรรดาสายไมโครโฟนทั้งหลาย ในห้องอัดมักมีนับสิบๆ เส้น มัดรวมกันยิงไปห้องร้อง(เล่น) สายพวกนี้ถ้ามัดรวมๆ กัน สัญญาณจะกวนกันเอง คือให้เสียงทึบ ตื้อ หุบ ต้องแยกอย่าให้แตะกัน

                5. ต้องฟังทดสอบทิศทางสายไมโครโฟนทุกเส้น แบบที่เกิดกับสายไฟ AC ต้องดึงมา 1 เส้น ฟังตามทิศที ย้อนทิศที เลือกที่ให้เสียงหลุดลอยออกมาและโฟกัสเป็นกลุ่มก้อน ไม่ฟุ้งแบน

                6. ถ้าเลือกได้ พยายามหาไมโครโฟนที่หัวโตๆ ที่สุด ซึ่งจะให้เนื้อ (มวล) เสียงได้อิ่มแน่นกว่า (อาจต้องมีฟองน้ำแผ่นกั้นเสียงลมจากริมฝีปาก...พรึบๆ) ไมโครโฟนหลอดจะอิ่มฉ่ำกว่า ถ้าใช้ไมค์ไร้สาย ต้องเลือกหัวโตเช่นกันเท่าที่จะหาได้ ระวังทิศทางสายเสียงที่ต่อจากตัวรับสัญญาณของไมค์ไร้สายไปยัง MIXER ถ้าสายนี้ผิดทิศก็จบข่าว (เจอเยอะมากๆ) อย่าลืมสลับขาปลั้กสายไฟ AC ของตัวรับสัญญาณด้วย ถ้าเลือกได้ ควรหลีกเลี่ยงไมค์ไร้สาย เสียงมักจะแบน นอกจากของดีจริง (ซึ่งแพงมาก ครึ่งแสนขึ้นไปต่อไมค์ 1 ตัว 1 ชุด)

                7. ขณะเล่น ร้อง บันทึก MIX เอาโทรศัพท์มือถือ ipad galaxy นาฬิกาไฟฟ้าในห้อง (ที่ข้อมือ) WiFi/LAN จอ LCD PC โน้ตบุค ออกไปนอกห้องทั้ง 2 ให้หมด (ทั้งห้องเล่น/ร้อง ห้อง MIX)

                8. ต้องมั่นใจว่า ระบบขยายเสียงจาก MIX มาแอมป์ ออกลำโพง ในห้อง MIX ต้องปรับ LEVEL MATCHING ดีที่สุดแล้ว สายเสียงไม่ผิดทิศ (สาย L, R ห้ามแตะกัน) สายไฟ AC ของเพาเวอร์แอมป์ไม่ย้อนทิศผิดทิศ

                9. ถ้าเลี่ยงได้ ให้เลี่ยงการฟังมอนิเตอร์ จากพวกลำโพงมอนิเตอร์ประเภทมีแอมป์ในตัว พวกนี้ มิติ รายละเอียดลึกๆ วิญญาณ อารมณ์เสียงร้อง แทบจะลืมได้เลย เพราะให้ตายอย่างไร ภาคขยายภายในกับลำโพง บอกการสั่น กวนกันเละอยู่แล้ว สายภายในก็มั่วไปหมด แน่นเปรี๊ยะ

                10. พยายามทำทุกวิถีทางที่จะไม่ให้เสียงร้องเข้าไปสู่ไมค์ของเครื่องดนตรี กลับกัน ก็ต้องไม่ให้เสียงเครื่องดนตรีรั่วมาเข้าไมค์ของเสียงร้อง อาจต้องใช้ฉากเก็บเสียงกั้น (ไม่อยากให้ใช้การแยกบันทึกคนละเวลา มันไม่ได้อารมณ์เท่าที่ควร น่าจะบันทึกแบบพร้อมกันไปหมด (REAL TIME, MULTI-TRACK น่าจะดีที่สุด)

                11. อาจต้องปรับเสียงก้องต่างกันไป ให้เสียงร้องลอยอยู่ด้านหน้าของวง ไม่ให้อยู่ในระนาบเดียวกับวง

                12. ถ้าจำเป็นต้องใช้ COMPRESSOR (ต้องควบคุมระดับเสียง) ควรใช้ให้น้อยที่สุด เท่าที่จำเป็น อย่าลืมลองตัว COMPRESSOR หลายๆ ยี่ห้อ, รูปแบบที่ใช้หลักการต่างๆ กันไป

                13. อย่าลืมฟังทดสอบ absolute phase ของแต่ละไมค์ (ไม่ว่าเสียงร้อง, ดนตรี ของทุกๆ คน ทุกๆ ชิ้น) ต้องส่งผลให้กรวยลำโพงมอนิเตอร์ขยับออกมา “เหมือนกันหมด” ถ้าพบว่ากรวยขยับหุบเข้าตู้ ก็สลับบวก, ลบสายลำโพงด้านแอมป์มอนิเตอร์ให้กรวยขยับออกก่อน แล้วไล่ตรวจการขยับของกรวยจากเสียงไมค์แต่ละตัว

ข้อส่งท้าย ผมมั่นใจว่า ถ้าในการบันทึก ไม่ว่าเสียงร้อง หรือเสียงดนตรี มีการพิถีพิถันกันครบ 13 ข้อ ผลงานที่ได้จะระดับเทพทีเดียว เวลาช่างนำมา MIX จัด MAPPING ต่างๆ จะง่ายและสั่งได้ คุณภาพงานจะดีอย่างนึกไม่ถึงจริงๆ ที่สำคัญ ไม่ฆ่านักร้องนักดนตรีด้วย

www.maitreeav.com

www.maitreeav.com
สำนักงาน : 313/129 ซ. เคหะร่มเกล้า 64 แขวงคลองสองต้นนุ่น เขตลาดกระบัง กรุงเทพฯ 10520
โทร. 081-5500269 , 099-569-6459