000
ปรึกษาเครื่องเสียง อจ. ไมตรี โทร 099-569-6459    
 
บอร์ดพูดคุย, ซื้อ-ขายเครื่องเสียง
>> audio-teams.com
>> noom-hifi.com
>> wijitboonchoo.com
>> hifi55.com  
>> sk-audiophile.com
>> htg2.net
นิตยสารเครื่องเสียง
>> what Hi-Fi? Thailand
>> The Wave
>> Audiophile-Videophile
>> gm2000.com
>> The Stereo
ร้านค้าเครื่องเสียง
>> Piyanas Electric
>> KS Sons Group
>> Conice (บ้านทวาทศิน)
>> อัศวโสภณ
>> munkonggadget.com
>> bkkaudio.com
 
ปรับขนาดตัวหนังสือ เช่น 15, 16, 18, 20, + + / ยกเลิกใส่ 0 :

หมวดหมู่ > เครื่องเสียงรถยนต์ > บทความเครื่องเสียงรถยนต์ > ทดสอบซับวูฟเฟอร์รถยนต์เรื่องไร้สาระ
วันที่ : 11/06/2016
8,592 views

ทดสอบซับวูฟเฟอร์รถยนต์เรื่องไร้สาระ

โดย...อ. ไมตรี ทรัพย์เอนกสันติ

ซับวูฟเฟอร์ส่วนใหญ่คนทั่วไปคิดว่ามีหน้าที่แค่ให้ความถี่ต่ำลึกหรือแรงสั่นสะเทือนไหวเป็นความเมามันส์เสียมากกว่า

จริงๆแล้วนั่นเป็นแค่หน้าที่ส่วนหนึ่งของซับวูฟเฟอร์ อีกหน้าที่ซึ่งมักมองข้ามคือมันเป็นตัวให้เนื้อเสียง,น้ำเสียงหรือความถี่คู่ควบด้านต่ำ (Sub Harmonic) ของความถี่ต่ำปกติ (ไม่ใช่ต่ำลึก) ทำให้เราแยกแยะออกว่านี่เป็นเสียงต่ำจากดับเบิ้ลเบส เสียงต่ำจากออร์แกน จากกลองชุด จากกลองใหญ่ ทิปปานี จากนักร้องเสียงต่ำ (บาริโทน) และอื่นๆ ถ้าความถี่ต่ำลึก (ที่ได้จากซับ) ผิดเพี้ยน แน่นอนเสียงต่ำจากเครื่องดนตรีเหล่านี้ก็จะผิดเพี้ยนไปด้วย แยกแยะคุณภาพเครื่องดนตรี,นักร้องไม่ออก

เสียงกลางต่ำซึ่งมีความถี่คู่ควบด้านต่ำ (Sub Harmonic) เช่นกันเป็นองค์ประกอบ ความถี่คู่ควบด้านต่ำนี้ กินไปถึงความถี่ต่ำ (บวกกับความถี่ต่ำลึกที่ได้จากซับ) ถ้าซับเพี้ยนความถี่คู่ควบด้านต่ำของเสียงกลางต่ำก็จะเพี้ยนไปด้วยและแน่นอนส่งผลให้ความถี่คู่ควบด้านต่ำของเสียงกลางเพี้ยนไปด้วยคือมันโยงกันเป็นทอดๆและในที่สุดก็จะลามไปถึงความถี่สูงจนได้ เป็นเรื่องที่ไม่น่าเชื่อว่ามันจะมีผลเป็นลูกโซ่โดมิโนกันตลอดแถบความถี่ได้

นี่คือเหตุผลที่อธิบายว่า ทำไมซับจึงทำให้เสียงอื่นๆในระบบเปลี่ยนไปและขณะเดียวกันในทางกลับกันเสียงตั้งแต่ความถี่สูงสุดไล่ลงมาหาต่ำสุด มีหน้าที่เป็นตัวกำหนดบ่งบอกลักษณะของหัวโน้ตเสียงสูง,เสียงกลาง,เสียงต่ำที่ว่าเบสเสียงคมหรือไม่ หัวโน้ตเบสทื่อ,มนหรือคมชัด ล้วนกำหนดจากคุณภาพเสียงกลาง,สูงเช่นกัน

ชักแม่น้ำทั้งห้า เพื่อให้เห็นภาพว่าการฟังทดสอบซับวูฟเฟอร์แทบไม่ได้บอกอะไรเราได้เลย มันยังขึ้นอยู่กับลำโพงกลาง,แหลมที่ใช้ (หรือลำโพงเบสต้นที่ใช้ด้วย) นี่ยังไม่นับรวมแอมป์ต่างๆที่ขับลำโพงเหล่านั้น

สมมุติแอมป์มีค่า DAMPING FACTOR (DF) 2000 (คือค่าความสามารถในการหยุดการสั่นค้างลำโพง ยิ่งสูงยิ่งดี ปกติไม่ควรต่ำกว่า 100) เมื่อนำมาขับซับที่ทดสอบมันก็จะช่วยกระชับซับที่เก็บตัวได้ไม่ดี ให้หยุดเร็วขึ้น,กระชับขึ้น ขณะที่ซับที่กระชับหรือยังเบิร์นอินไม่ได้ที่ก็จะออกมาแข็งกระด้างไปหน่อย ก็จะคิดว่าซับตัวแรกดีกว่า ทั้งๆที่แอมป์ขับซับระดับชาวบ้านค่า DF อย่างเก่งก็ 80-100 (300 ก็หรูแล้ว) ยิ่งถ้าแอมป์โมโน Class D ค่า DF ต่ำกว่า 100 แน่นอนว่าผลวิจารณ์ซับทั้ง 2 ข้างต้นอาจกลับกัน ซับแรกเสียงไม่กระชับ เบลอ ไม่คมชัด ซับตัวหลังชัด,กระชับ,เร็ว

นอกจากนั้นสายสัญญาณที่ใช้ (ทิศทาง) ,สายลำโพง,สายไฟ,สายรีโมท เปิดแอมป์นั้น (ทิศทางด้วย) การปรับขาเข้าของเพาเวอร์แอมป์ขับซับก็ต้องทำ LEVEL MATCHING ให้ซับแต่ละดอกด้วย (ตรงนี้เชื่อว่าไม่มีนักวิจารณ์คน ไหนจะมาขยัน ทำ)

ไหนจะขนาดของตู้ที่ติดซับ ผู้วิจารณ์จะขยันหรือกล้าลงทุนตีตู้ให้เหมาะที่สุดกับซับแต่ละดอกหรือ (ไม่น่าจะมีใครขยันขนาดนั้น) อย่างดีก็แค่ยึดกับตู้อ้างอิง (ครอบจักรวาล) แล้ววัดสเปคเสียงที่ได้ในห้องเก็บเสียงหรือใช้โปรแกรม FAST FOURIER TRANFORM ตัดเสียงก้องในห้องออก เพื่อไม่ต้องใช้ห้องเก็บเสียง (แต่วิธีนี้เริ่มมีคนคัดค้านและให้ข้อคิดว่า ผลที่ได้ผิดเพี้ยนจากการวัดในห้องเก็บเสียงจริงๆ)

ยังไม่นับเรื่องเฟสหรือการขยับเข้า-ออกของตัวลำโพงซับเมื่อเทียบกับลำโพงอื่นๆในระบบ (แค่ฟังแบบ 2 Ch บวกซับก็วุ่น วายแล้ว ถ้าทดสอบซับในระบบเซอราวด์ไม่ยิ่งสลับซับซ้อนกว่าหรือ)

ลึกไปกว่านั้นการตอบสนองได้ฉับไวแค่ไหนของลำโพงซับเมื่อเทียบกับลำโพงเบส,ลำโพงกลาง,ลำโพงแหลม เช่นถ้าลำโพงกลาง,แหลมเป็นโลหะที่ฉับไวจึงจะตามกันทัน มันมีผลต่อกันไปหมด

ทุกครั้งที่อ่านรายงานทดสอบซับวูฟเฟอร์ตามนิตยสารไทย,เทศ จึงได้แต่อ่านแบบผ่านๆดูแต่การวัดผลทางไฟฟ้ามากกว่าจะสนใจบุคลิกเสียงหรือบทสรุปว่าใครดีกว่าใคร มันไม่ง่ายอย่างนั้น ไร้สาระอีกต่างหาก

อย่างไรก็ตาม ทางที่พอจะเป็นไปได้ในการฟังทดสอบซับก็คือ ใส่ตู้ตามปกติที่คำนวณตามสเปคของซับนั้นๆ ฟังด้วยแอมป์ขับที่เรามั่นใจเรื่องสุ้มเสียงที่มีความเป็นดนตรีสูง (ลองด้วยการฟังกับลำโพงปกติก่อนที่ไม่มีซับ)มีกำลังขับที่ดีและถึง เก็บตัวได้ดีไม่ยาน (Damping Factor ดี) ใช้สายลำโพงที่ดีพอ (ไม่อั้นกระแส) จากนั้นฟังเสียงเหล่านี้ โดยป้อนความถี่เสียงครบ (Full Range) ไม่ใช่แค่เบส

  1. เสียงเบสอู้,ก้องไหม
  2. เสียงเบสหนาทึบหรือโปร่ง
  3. เสียงเบสอุ้ยอ้ายหรือฉับไว ไม่ยานคราง
  4. เสียงกลางยังออกได้ไหม ชัดแค่ไหน ตัว ตัว ตัว ยังฟังชัดออกไหม

ซับไหนได้ครบทั้ง 4 ข้อ ซับนั้นตอบสนองฉับไว ไม่บวมเบลอ จะเอาไปเข้ากับลำโพงอื่นๆในระบบได้ง่าย แต่วงจรแบ่งเสียงต้องตัดได้ชันสักหน่อย เบสจะมีรายละเอียดดี

ซับไหนขาดข้อ 4 ตัว เป็น อ ตัว เป็น อ๋อ ตัว เป็น ทอ แสดงว่ากินความถี่ไม่ได้สูง อาจดีที่ไม่ต้องใช้วงจรแบ่งเสียงตัดชันนัก แต่ก็เข้ากับลำโพงอื่นในระบบได้ยากสักหน่อย

ซับไหนที่เสียงหนาทึบ,ด้าน แถมอุ้ยอ้ายเฉื่อย จะเข้ากับลำโพงเดิมได้ยากมาก ยิ่งลำโพงกลางแหลมสด ฉับไวยิ่งไม่มีทาง

อย่างไรก็ตาม จำไว้เป็นข้อเตือนใจ ซับยิ่งใหญ่ ยิ่งอุ้ยอ้าย แม้จะลงเบสได้ลึกกว่าซับเล็ก แต่ในรถจริงๆห้องโดยสารจะจำกัดความถี่ต่ำลึกอยู่แล้ว เอาเงินค่าซับตัวโตมาเพิ่มกำลังขับแอมป์ขับซับ จะคุ้มและเห็นผลกว่า

สุดท้าย อย่าลืมเพิ่มตัวเก็บประจุให้แก่ฟร้อนท์เช่นขนาด 33,000 ไมโครฟารัด ถึง 250,000 ไมโครฟารัด จะช่วยให้เบสและเบสลึก ดีขึ้นได้อย่างเหลือเชื่อ

www.maitreeav.com

www.maitreeav.com
สำนักงาน : 313/129 ซ. เคหะร่มเกล้า 64 แขวงคลองสองต้นนุ่น เขตลาดกระบัง กรุงเทพฯ 10520
โทร. 081-5500269 , 099-569-6459