000
ปรึกษาเครื่องเสียง อจ. ไมตรี โทร 099-569-6459    
 
บอร์ดพูดคุย, ซื้อ-ขายเครื่องเสียง
>> audio-teams.com
>> noom-hifi.com
>> wijitboonchoo.com
>> hifi55.com  
>> sk-audiophile.com
>> htg2.net
นิตยสารเครื่องเสียง
>> what Hi-Fi? Thailand
>> The Wave
>> Audiophile-Videophile
>> gm2000.com
>> The Stereo
ร้านค้าเครื่องเสียง
>> Piyanas Electric
>> KS Sons Group
>> Conice (บ้านทวาทศิน)
>> อัศวโสภณ
>> munkonggadget.com
>> bkkaudio.com
 
ปรับขนาดตัวหนังสือ เช่น 15, 16, 18, 20, + + / ยกเลิกใส่ 0 :

หมวดหมู่ > บทความ > กะเทาะเปลือกวงการเครื่องเสียงไฮเอ็นด์ > อยากเป็นผู้นำเข้าเครื่องเสียงไฮเอนด์
วันที่ : 04/05/2016
7,954 views

อยากเป็นผู้นำเข้าเครื่องเสียงไฮเอนด์

โดย...อ. ไมตรี ทรัพย์เอนกสันติ

จากที่กล่าวมาแล้วข้างต้นทั้งหมด คุณคงพอมองออกถึงธรรมชาติของลูกค้าและการขายเครื่องเสียงไฮเอนด์ คราวนี้เรามากระเถิบขึ้นเหนือน้ำขึ้นไปคือ การเป็นผู้นำเข้าหรือ IMPORTER หรือ DISTRIBUTOR (ผู้จัดจำหน่าย) คุณจะต้องรู้อะไรบ้าง

  1. ธรรมชาติของเครื่องเสียงไฮเอนด์ซึ่งถือเป็นกฎเหล็กคือ เกิดยาก...ตายง่าย! ??เกิดยากเพราะกว่าจะปั้นให้วงการยอมรับ ต้องใช้ทั้งเงิน (หลายล้านบาท) และเวลา (ไม่ต่ำกว่า 3 ปีขึ้นไป) ดังนั้น ต้องทดสอบ,ทดลองจนมั่นใจว่าผลิตภัณฑ์นั้นดีจริง ถ้าเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีบุคลิกที่เอาใจหูตลาดไฮเอนด์ (ซึ่งไม่จำเป็นต้องถูกต้องเที่ยงตรง หรือ ACCURATE) อาจจะเกิดง่าย แต่ในระยะยาวจะตายเพราะเป็นเสียงที่จำเจน่าเบื่อ แต่ถ้าเป็นเสียงที่เที่ยงตรง ถูกต้อง ถ้าติดตั้งดีๆ โปรโมทดีๆอย่างค่อยเป็นค่อยไป จะอยู่ได้มั่นคงในระยะยาว

    มันแย่ (มาก) ก็ตรงที่ว่า ในวงการไฮเอนด์ว่ากันจริงๆแล้วส่วนใหญ่ฟังไม่เป็น (แต่ฟุ้งด้วยราคาคุย) ชอบเสียงแบบ ?รักแรกพบ? หรือ ?อุดมด้วยบุคลิกส่วนตัว? ทั้งผู้ออกแบบ,ผู้ขาย,นักวิจารณ์ ทำให้พวกนี้เกิดง่าย เป็นที่กล่าวขวัญ (TALK OF THE TOWN)

    ใครคิดจะเข้ามาต้องชั่งใจให้ดีว่า จะกินใกล้หรือกินไกล กินใกล้เหมือนน่าจะสมเหตุผลกว่า แต่ในระยะยาวจะขาดทุนค่าโฆษณาประชาสัมพันธ์เพราะหมดลมเชียร์ ว่าวก็ตกปักหัวดิ่งกระแทกพื้น นอกจากนั้นการอิงกับเครื่องเสียงที่ให้เสียงถูกต้อง จะหาผลิตภัณฑ์อื่นๆเข้ากับมันได้ง่าย ไม่ทำบาปในการพาผู้เล่นหลงทาง ออกทะเล ขายไปแล้วไม่ต้องกลืนน้ำลายตัวเองทีหลัง คนเราอยู่กับความถูกต้องแล้ว อยู่ได้อย่างเชิดหน้าชูตา

    พ่อค้ามักชอบขายเครื่องเสียงที่มีบุคลิกเพราะขายง่าย (รักแรกพบ) แถมไม่นานลูกค้าจะเบื่อ และวิ่งกลับมาเปลี่ยนโดยจะเรียกหาเครื่องเสียงที่อ่อนบุคลิกเดิมและอยากได้บุคลิกในฟากฝั่งตรงข้าม จากนั้นก็จะเบื่อบุคลิกใหม่และกลับมาเปลี่ยน ฯลฯ เป็นวังวนอุบาทว์ไม่รู้จบ จนกล่าวกันว่า เครื่องเสียงเล่นไม่รู้จบจริงๆถ้าอิงกับเสียงเที่ยงตรง ถูกต้องมัน?จบ?ได้ในระดับหนึ่งเหมือนดูจอภาพที่สีสันถูกต้อง เที่ยงตรงก็พอใจในระดับจอ 32 นิ้วนั้นๆโดยไม่เบื่อ พอมีเงินก็เขยิบไปจอใหญ่ขึ้นละเอียดขึ้นเป็น 47-50 นิ้วที่ให้ภาพสีสันถูกต้อง เที่ยงตรง มีเงินอีกก็เขยิบไปโปรเจคเตอร์ 70 นิ้วที่สีสันเที่ยงตรง,ถูกต้อง มันเป็นความ ?เต็มอิ่ม? ในแต่ละระดับอยากจะจบก็จบได้ในแต่ละระดับ

    การเล่นเครื่องเสียงแบบมีบุคลิก จึงเหมือนตกอยู่ในวงจรอุบาทว์เป็น เหยื่อ พ่อค้าที่ไม่รู้จบ ตกในเขาวงกต พ่อค้าที่เล็งขายเครื่องเสียงบุคลิก ถ้าไม่เพราะตัวเองก็ตาบอดหลงทางเอง ก็เข้าใจได้ว่ามีความโหดเหี้ยม คิดแต่จะกอบโกยเงินจากลูกค้าแต่พ่อค้าประเภทนี้มักอยู่ไม่ยืด ถ้าลูกค้าไม่กลับมาโวยวาย สาปส่ง (ที่แนะนำมั่วๆผิดๆ) ก็ฝ่อไปเอง เพราะลูกค้าเบื่อ,เซ็ง เลิกเล่น (วงการไฮเอนด์เดี้ยงลงทุกวันก็เพราะกรณีนี้มากที่สุดหรือแทบทั้งหมด) การเล่นหรือขายเครื่องเสียงที่มีบุคลิกเด่นๆไม่นานหรือสักวันจะเหมือนวัวพันหลัก สะดุดขาตัวเอง
  2. เมื่อเครื่องเสียงไฮเอนด์เกิดยาก...ตายง่าย ผู้จะเป็นตัวแทนสั่งเข้ามาต้องดูด้วยว่าผู้ผลิตมีสายป่านเงินทุนขนาดไหน ไม่ใช่เราปั้นแทบตาย 2 ปีบริษัทผู้ผลิตเจ๊งหรือไม่มีปัญญาดูแลการรับประกัน แบบนี้เราจะพังไปด้วย เพราะลูกค้าไฮเอนด์เขายอมจ่ายแพงก็เพื่อนอนตาหลับว่าเครื่องของเขา,ลำโพงเขาจะไม่เป็นเศษเหล็กหรือขยะราคาแพง ดังนั้น ถ้าเป็นไปได้ผู้นำเข้าจึงควรตีสนิทบินไปสอดส่องบ้านช่อง,โรงงาน,ครอบครัวผู้ออกแบบถึงเมืองนอก จะให้ดีที่สุดแอบเข้าไปตรวจสอบฐานการเงินของบริษัทด้วย อย่าคิดว่าฝรั่ง ?เบี้ยว? ไม่เป็น พ่อค้าไฮเอนด์ไทยโดนเบี้ยวไม่ได้รับสินค้ากันมาหลายคนแล้ว เวลาผ่านไปเป็นสิบๆปียังทำอะไรไม่ได้

    ประเภทยี่ห้อวางฟอร์มให้ส่งเงินไปก่อนจะส่งสินค้าให้ทีหลังละก็ ห่างไว้ ไม่ขายของเขาก็ไม่ตายดีกว่าถูกหลอก

    ที่จริงคิดขึ้นมาก็น่ากลัว สมมุติเกิดฝรั่งเจ้าเล่ห์ทุ่มเงินสักก้อน (ใหญ่) ทำเครื่องเสียงไฮเอนด์ขายเรียกว่าหน้าตา ?ว้าว!? คุณภาพ ?โอ้พระเจ้า? คำวิจารณ์ ?เหนือจินตนาการ? ราคา ?แพงเอาเรื่อง? (โดยให้ผลกำไรแก่ผู้นำเข้าหรือตัวแทนสูงเช่น ของราคา 15,000 เหรียญแต่ราคาส่งจากโรงงานอาจแค่ 4,000 เหรียญ ขณะที่สินค้าคู่แข่งแบบเดียวกันต้องส่ง 6,000 เหรียญ) แถมยี่ห้อนี้มีการประชาสัมพันธ์หนัก อัดฉีดบนโต๊ะ,ใต้โต๊ะแก่นักวิจารณ์ใต้ดิน,บนดินกันทั่วหน้า (ในอเมริกาถ้าคิดจะทำธุรกิจเครื่องเสียงไฮเอนด์เตรียมค่าประชาสัมพันธ์ไว้ได้เลยปีละ 1 ล้านเหรียญ)

    เมื่อสินค้ามันดูดี,ฟังดี,เชียร์ดี,กำไรดีพร้อมไปหมด มีใครไม่อยากขายบ้าง รับรองว่าในงาน CES ผู้นำเข้าจากทั่ว โลก วิ่งเข้ามาขอเป็นเอเย่นต์หัวบันไดไม่แห้งแน่

    ใหม่ๆ ทุกอย่างก็ดำเนินไปด้วยดี 1 ปีผ่านไป ยี่ห้อนี้ HOT มาก ฝรั่งเริ่มเล่นตัวบอกว่า สินค้าคงต้องขึ้นราคาไป 20 % เพราะอะไหล่แพง แต่ถ้าอยากได้ราคาส่งเดิมก็ต้องสั่งมากกว่าเดิมสัก 50% และจ่ายเงินล่วงหน้า เพื่อบริษัท จะได้ไปต่อรองกับผู้ขายอะไหล่ได้ราคาส่งเดิม ซึ่งฟังดูก็มีเหตุผล อีกทั้งไปเที่ยวชมบริษัท,โรงงานผลิตก็ดูดี เป็น ใครก็ต้องโอเคตามเงื่อนไขใหม่ บริษัทยังบอกว่าจะลัดคิวนำส่งให้ด้วย ไม่ต้องรอนาน

    แต่อนิจจา นั่นคือสิ่งสุดท้ายที่จะได้เห็นบริษัทนี้ กว่าผู้นำเข้าจะเอะใจ บริษัทก็เล่นบทนินจาหาบวับเข้ากลีบเมฆไปแล้ว พร้อมเงินล่วงหน้าจากตัวแทนนับล้านๆเหรียญ ทิ้งหนี้ก้อนโตไว้กับผู้ส่งอะไหล่,คนงาน

    นี่ไม่ใช่นิยาย เขียนเสือให้วัวกลัว อย่าลืมว่าเศรษฐกิจอเมริกา,ยุโรปแม้แต่ญี่ปุ่น กำลังอยู่ในภาวะเช่นไร มันแย่กว่าบ้านเราเสียอีก ขนาดบริษัทอภิมหายักษ์ทั้งหลาย,แบงก์,เงินทุน,กองทุนยังโกงยังเจ๊งกันระนาวทุกวัน แล้ววงการเครื่องเสียงไฮเอนด์จะเหลือสักเท่าไร น่ากลัวจริงๆ ไม่ได้ขู่แต่เตือนๆกันไว้ โดนทีเป็นล้านบาทก็อ๊วกละครับ
  3. การนำเข้าเครื่องเสียงแม้เป็นไฮเอนด์ ก็ต้องผ่านการตรวจรับรองของ ส.ม.อ.ก. (สมาคมมาตรฐานอุตสาหกรรม) ซึ่งมีสิทธิ์ขอผลิตภัณฑ์นั้นไป ?ผ่า,แยกธาตุ?ตรวจสอบ ก็ไปคิดทำการบ้านดูเอาเองว่าจะใช้กลยุทธ์อะไรในการฝ่าด่านอรหันต์นี้ให้ได้ เพราะว่าถ้าวางขายโดยไม่มีสติ๊กเกอร์รับรองจาก ส.ม.อ.ก. มีสิทธิ์ถูกปรับชิ้นละสองแสนบาทได้ง่ายๆ (ก็ไม่รู้เหมือนกันว่าเครื่องเสียง,เครื่องภาพสินค้าจีนโนเนมคุณภาพ ?ขยะ? วางขายอล่างฉ่างในห้างโมเดิร์นเทรดได้อย่างไร มันไม่น่าจะผ่านส.ม.อ.ก. ได้เลยด้วยซ้ำ)
  4. ต้องเตรียมรบกับสินค้าหนีภาษี,ตลาดเกรย์มาร์เก็ต (สินค้าที่มีการเสียภาษีเหมือนกัน จะถูกต้องหรือไม่ ไม่ทราบ แต่มีการสั่งเข้ามาขายแข่งตัวแทน โอเคอาจโฆษณาไม่ได้ ตัวแทนฟ้องได้ แต่มีสิทธิ์ขายได้)? ดังนั้น ถ้าคิดจะโขกราคาขายสูงๆจนเวอร์ ก็ต้องชำเลืองตรงนี้ด้วย รวมทั้งสินค้าที่มีกองทัพมดรับจ้าง (ฝาก) โดยนักเรียนนอกที่จบ ใช้สิทธิ์ของใช้ส่วนตัว หิ้วเข้ามาขายแข่ง (ที่จริงป้องกันไม่ยาก รัฐบาลน่ากำหนดว่า ต้องคงสิ่งนั้นไว้อย่างต่ำ 1 ปี จึงจะขายออกได้ ถ้าสุ่มตรวจเช็ค ไม่เจอของ ปรับค่าภาษี 4 เท่า ดูซิว่ากองทัพมดเหล่านี้จะดิ้นอย่างไร พวกนี้นำเข้ามาเป็นขบวนการ ไม่ใช่น้อยๆ)

    จริงๆแล้วผู้นำเข้าต้องนำกรณีเหล่านี้มาคุยกับเมืองนอกและหาวิธีแก้ไขร่วมกัน ผู้นำเข้าบางรายใช้วิธีเสนอเงื่อนไขการรับประกันที่ยาวขึ้น หรือรับซื้อคืนที่มีการรับประกันราคาซื้อคืน (ตามสภาพ/จำนวนปีที่ใช้) หรือไม่รับซ่อมของหนี,ของหิ้ว,ของเกรย์ ด้วยประการทั้งปวง หรือชวนผู้ผลิตทำธุรกิจแบบเป็นหุ้นส่วนเจ้าของร่วมกับตัวแทนจำหน่ายจะหิ้วอย่างไร ทุกคนก็ได้จากต้นน้ำ การเป็นเจ้าของร่วมอยู่แล้ว

    เรื่องของหนีภาษีจากประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียง มีกรณีที่ผู้นำเข้าอาจไม่ทราบ แม้ประเทศเพื่อนบ้านนั้นไม่มีภาษีนำเข้า (FREE TAX) แต่มีภาษีรายได้ (INCOME TAX) จะมีแก๊งค์นำเข้าประเทศนั้นที่ดำดินเข้าไปและขาย กันในโกดังลับ เพื่อไม่ต้องแจ้งภาษีรายได้ใดๆ ราคาจึงยิ่งต่ำลงไปอีก ยิ่งถ้าได้สินค้าจากตัวแทนขายปลีกหรือตัวแทนจัดจำหน่าย ในอเมริกาที่ปิดร้านหนีหนี้ แล้วส่งมาให้แก๊งค์ดังกล่าว สินค้าจะยิ่งถูกลงไปอีกเพราะเบี้ยวหนี้ (ส่วนมากเป็นร้านของคนเอเชียเชื้อชาติใกล้ๆบ้านเรานี่แหละ) ทางโรงงานต้องช่วยจัดการ อาจแจ้งหมายเลขเครื่องไปตัวแทนทั่วโลกเพื่อนำจับและแจ้งแก่ผู้บริโภค

    อีกกรณีคือ การรวมกลุ่มกันของนักเล่น แล้วบินไปหิ้วที่เมืองนอกโดยในกลุ่มอาจมีโต้โผที่มีเส้นสายในการหิ้วผ่านที่ด่านสนามบิน แล้วก็ลงขันจ่ายค่าใต้โต๊ะกัน กลุ่มนี้มีจริง เป็นเสี่ยรุ่นเดอะทั้งนั้น อาจเจ็บช้ำจากการถูกโขกสับของตัวแทนไฮเอนด์ในอดีต

    วิธีแก้เกมอีกทางของตัวแทนนำเข้าคือ ลูกค้าจ่ายเงินที่นี่ (ในราคาไม่เสียภาษี) แล้วบินไปหิ้วของ (จากโกดังของผู้นำเข้าในต่างประเทศ) เข้ามาเอง โดยทางตัวแทนจะยังคงรับประกันเหมือนของปกติทุกอย่าง วิธีนี้ก็น่าสนใจ ว่าก็ว่าเถอะ ถ้าบ้านเราเปิด FREE TAX เมื่อไรละก็...สนุก เศรษฐกิจจะกระโดดโลดเลย ของหนีจะสูญพันธุ์ ถนนนักท่องเที่ยวทั่วโลกจะมุ่งมาที่ไทย ทั้งถูก ทั้งดี นิสัยดี อะไรๆก็มีครบ เรื่องการเมืองไม่มีความหมายหรอก ฝรั่งเขาดูออก แถวตะวันออกกลาง,ยุโรป,ไต้หวัน,อินเดีย การเมืองฉะกันแรงกว่าบ้านเราเสียอีก ที่ฝรั่งมาน้อยลงเพราะถังแตก
  5. ในกรณีการถูกถล่มป่วน ถูกเผาทางอินเตอร์เน็ต (เว็บไซด์) ทั้งของหนี,หิ้ว,ของเก่า จำไว้ว่าผู้นำเข้าสามารถฟ้องเว็บไซด์หรือผู้โพสต์ได้ โดยอ้างความเสียหายทางการค้า
  6. ผู้นำเข้า ?ต้อง? มีโชว์รูมของตัวเองและสาธิตคุณภาพเสียงได้ดี,ถูกต้องที่สุดอย่าคิดจะยืมจมูกของร้านค้าปลีกมาช่วยเป็นช่องทางค้าขาย เพราะร้านค้าปลีกหลายแห่งก็มีขาประจำยี่ห้อของเขาหรือบ้างก็เป็นผู้นำเข้าเองด้วย ทำเลโชว์รูมต้องไปมาสะดวก ไม่จำเป็นต้องอยู่บนศูนย์การค้าดังที่ลงทุนสูงมาก แต่ต้องสะดวกทั้งการจอดรถ,การเรียกแท็กซี่,การจราจรที่ไม่ติดมาก,สถานที่ต้องโอ่โถงพอ,ต้องกล้าลงทุนกับห้องฟังที่ถูกต้อง (เลิกที่กับประเภทไม้ระแนงทำเป็นช่องตีเต็มห้อง พวก DIFFUSER เหล่านั้น มันดูดซับเสียงอะไรไม่ได้ มีแต่ตีความก้องเป็น ?ฝุ่นเสียง? ต้องติดตั้งได้ถูกต้อง ไม่ใช่ของไฮเอนด์ ตั้งชุดแบบโลเอนด์
  7. ผู้นำเข้าต้องมีทีมติดตั้งที่มือถือ (ดูกรณีร้านขายไฮเอนด์ตอนต้น) ต้องมีการบริการหลังการขายที่ดีจริง ไม่กะฟันค่าซ่อมลูกเดียวต้องรู้จักยืดหยุ่น ไม่หลอกลวงและต้องคุมช่างให้ติด (ห้ามซิกแซก)
  8. ต้องรู้จักการประชาสัมพันธ์ บริหารรายจ่ายค่าโฆษณาได้ดี รู้ว่าช่องทางโฆษณาไหนได้ผลไม่ได้ผล ควรทำตลาดแบบซึมช้า (SOFT SALE) หรือฟันธง (HARD SALE) ทำแบบเน้นโฆษณา (ABOVE THE LINE) หรือแฝงเร้น (BELOW THE LINE)

    จะเข้าหานักวิจารณ์คนไหน (กับคนที่ซื้อไม่ได้ควรขอความร่วมมือเขาในแง่ไหนที่สบายใจทุกฝ่าย) นักวิจารณ์คนไหนวงการเชื่อถือ คนไหนมีแต่ราคาคุย คนไหนไร้อิทธิพล ต้องไม่ลืมว่า อาชีพนักวิจารณ์ของสื่อหลักเป็นการเปิดเผย ?ตัวตน?ต่อสาธารณชน (ตรงข้ามกับนักวิจารณ์ ?อีแอบ? ตามเว็บไซด์ที่โพสต์เข้ามา) นักวิจารณ์อาจหลอกคนบางคนได้ ในบางเวลาแต่ไม่ใช่ ?ทุกคน? และ ?ตลอดเวลา? นั่นคือ มวลชนเขารู้ว่านักวิจารณ์คนไหนเป็นอย่างไร คนไหนพ่อค้า คนไหนเชื่อได้หรือไม่ได้ คนไหนเป็นคนของประชาชน ดังนั้น ถ้าผู้นำเข้าเลือกใช้นักวิจารณ์ผิด เพียงเพราะมีออฟชั่นให้เยอะ เป็นนักวิจารณ์ที่ ?เงินมาผ้าเปิด?ก็จะทำให้มีผลเสียต่อตัวสินค้าเอง จริงอยู่แม้บางครั้งสินค้านั้นจะดีจริง แต่ตัวนักวิจารณ์เน่าแล้วก็จะพลอยทำให้ผู้บริโภคคิดว่าสินค้านั้นไม่ดีจริงหรืออย่างน้อยก็ไม่อ่าน ไม่ให้ความเชื่อถือบทวิจารณ์คือมันไม่ขลัง ไม่ศักดิ์สิทธิ์ การทุ่มเทกับนักวิจารณ์นั้นจึงเป็นการสูญเปล่าแถมมีผลในแง่ลบด้วย (เป็นเรื่องน่าเศร้าที่นักวิจารณ์ขายตัว มักนำเสนอตัวเองได้เก่ง ขณะที่นักวิจารณ์ที่มีจริยธรรมกลับเก็บตัว สมถะ)
  9. ผู้นำเข้าต้องสร้างสายสัมพันธ์กับพวกสถาปนิกตกแต่ง เพื่อให้พวกเขาช่วยเชียร์ช่วยขายแก่บรรดา ?เสี่ยบ้านใหม่,น้องใหม่?
  10. ผู้นำเข้าต้อง ?ตามลูกน้อง?ให้ทันบ่อยๆที่พวกนี้ชอบขี่ช้าง ไซด์ไลน์ เช่นขายเครื่องและลำโพงของเจ้านายก็จริงแต่แอบไปติดต่อผู้นำเข้าสาย แล้วอ้างว่าเข้ากันได้กับชุดเอเย่นต์ขายให้ลดครึ่งหนึ่งหรือกว่านั้น เพื่อให้เราเอามาสาธิตช่วยประชาสัมพันธ์สินค้าเขา มันก็โอเค ทุกฝ่ายได้ประโยชน์ แต่ลึกๆคือ เด็กในโชว์รูมของเราจะขายสายนั้นด้วยโดยส่วนตัวไม่ผ่านทางร้าน พูดง่ายๆเราเสียเงินมหาศาลเปิดร้านขายของให้ลูกน้อง! รวมทั้งเด็กอ้างว่าลูกค้าซื้อของเราและฝากของเก่าให้ช่วยออกตัวให้ด้วยที่ร้าน นี่ก็เช่นกันกำไรส่วนต่างก็เข้ากระเป๋าเด็ก เด็กคนขายที่อยู่ในร้านเครื่องเสียงไฮเอนด์ ถ้ามีฝีมือจริง พูดเก่ง ลูกค้าจะติด เป็นลูกค้ามีฐานะทั้งนั้น เป็นช่องทางให้เด็กหากินได้สารพัด ไม่จำเป็นต้องขายสินค้าในร้าน ขายอะไรก็ได้ จากผู้นำเข้าไหนก็ได้ ไปๆ มาๆ เชื่อไหมว่า เด็กหาเงินได้มากกว่าเถ้าแก่ (เมื่อหักค่าใช้จ่ายแล้ว) เพราะค่าใช้จ่ายของเด็กคือค่าใช้จ่ายของเถ้า

???? เด็กที่ไซด์ไลน์อย่างนี้ สังเกตว่าจะมีอาการต่อไปนี้

  1. ชอบมาสายแต่กลับก่อน อ้างโน่นนี่
  2. อยู่ร้านชอบงีบหลับ ดูอ่อนโหยในบางวัน
  3. ชอบลาหยุดบ่อย
  4. ใช้จ่ายฟุ่มเฟือย (ดูที่มือถือ, เฟอร์นิเจอร์, ผู้หญิง)
  5. ติดการพนัน
  6. ขยันเข้าชนลูกค้าแต่ขายของร้านไม่ได้สักที
  7. ชอบอาสาไปติดตั้งบ้านลูกค้ามากกว่าอยู่หน้าร้าน

????????? ในอดีตเมือ 30 ปีที่แล้วในวงการขายเครื่องเสียงไฮเอนด์ เถ้าแก่จะขายเองทั้งหมด ทำให้เกิดความสนิทกับลูกค้า ตัดสินใจได้ทันที ยืดหยุ่นได้เต็มที่ ตัดปัญหาลูกน้องกินนอกใน เถ้าแก่รู้ซึ้งถึงคุณภาพของสินค้าตัวเองดี ไม่มีการรั่วไหล

? ????????แต่ปัจจุบันตรงข้าม 75% ของสินค้าไฮเอนด์ เถ้าแก่ให้ลูกน้อง เด็กหน้าร้านเป็นคนขาย ข้อดีที่เพิ่งกล่าวมาหายหมด ความภักดีของลูกค้าต่อยี่ห้อไม่มีอีกต่อไป บ่อยๆที่ลูกน้องเผายี่ห้ออื่นเพื่อขายของตัวเอง ทั้งๆที่ระดับเถ้าแก่ไม่ได้มีนิสัยอย่างนั้น การขายสินค้าไฮเอนด์กลายเป็นว่า แล้วแต่ว่าใครจะ ?หลอก? ลูกค้าได้เก่งกว่ากัน ความสมานฉันท์สามัคคีหายไป แบ่งเป็นค่ายเป็นก๊ก เป็นฝั่งฝ่าย แม้แต่สื่อ

????????? จริงๆแล้วก็น่าเห็นใจ ปัจจุบันวงการเครื่องเสียงไฮเอนด์มันตกต่ำมาก เถ้าแก่เกือบทั้งหมดอยู่ได้ด้วยสาเหตุ 3 ประการ

  1. มีธุรกิจอื่นทำอยู่ ธุรกิจเครื่องเสียงแค่เสริม ทำเพราะรักชอบ (95% ของผู้นำเข้าเครื่องเสียงไฮเอนด์หรือแม้กระทั่ง เครื่องเสียง/ภาพทั่วไปก็อยู่ในลักษณะนี้)
  2. ทำธุรกิจเครื่องเสียงไฮเอนด์อย่างเดียวล้วนๆ แต่อยู่ได้เพราะการพลิกแพลง ตะแคงเดินทุกรูปแบบ ไล่กันตั้งแต่เทคนิคการนำเข้าพิเศษ การเสียภาษีแบบพิเศษ การบริการแบบมีข้อแม้ การยุให้เปลี่ยนบ่อยๆ (เอากำไรส่วนต่างของเทิร์น,ของเก่า) กำไรค่าทำห้องฟัง (ที่ไร้สาระ) เถ้าแก่ขายเองลุยเอง ไม่เปิดโอกาสให้ลูกน้องแม้แต่น้อย
  3. จริงๆตัวเองไม่ได้เป็นเอเย่นต์แต่งตั้งจากโรงงานโดยตรง หากแต่เป็นแค่ตัวแทนขายปลีก (DEALER) ข้ามชาติ คือไปหิ้วมาจากร้านค้าปลีกที่เมืองนอกเท่านั้น

ดังนั้น ก่อนที่ผู้บริโภคคนใดจะหลวมตัวจ่ายแพงลิบกับเครื่องเสียงไฮเอนด์ยี่ห้อใดก็ตาม อย่าลืมเข้าเว็บไซด์ยี่ห้อนั้น ตรวจดูว่าใครคือตัวแทน (DISTRIBUTOR) ในเมืองไทยก่อน เพราะมีผลต่อขีดขั้นความสามารถในการดูแลของที่เราซื้อไปแล้วอย่าลืมว่า สมมุติทางร้านหิ้วของมาขายและไม่สามารถออกใบเสร็จ(ที่สมบูรณ์แบบ)ให้เราได้ วันดีคืนดี (ที่จริงวันร้ายคืนร้าย) ของนั้นเสีย และทางร้านเลิกกิจการไปแล้วหรืออ้างว่าไม่ได้เป็นตัวแทนยี่ห้อนั้นแล้ว ไม่สามารถบริการซ่อมให้เราได้หรืออย่างดีก็ฝากซ่อมไว้ (แล้วก็ปล่อยให้เรารอข้ามชาติจนท้ายสุดต้องหอบกลับไป) แล้วเราต้องวุ่นวายส่งไปซ่อมที่เมืองนอกเอง (อย่าลืมว่า INTERNATIONAL WARRANTY เขาหมายถึง ซื้อที่ไหนต้องซ่อมที่นั้น ในวงการเครื่องเสียงเขาเป็นแบบนี้) ตอนนำออกไม่เท่าไร แต่ตอนส่งกลับจะมีปัญหาเรื่องภาษี ถ้าไม่มีใบเสร็จ (สมบูรณ์)ของการซื้อในนี้ก็ตัวใครตัวมันแล้วกัน!

www.maitreeav.com

www.maitreeav.com
สำนักงาน : 313/129 ซ. เคหะร่มเกล้า 64 แขวงคลองสองต้นนุ่น เขตลาดกระบัง กรุงเทพฯ 10520
โทร. 081-5500269 , 099-569-6459